บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น [๒๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ถูก เหล่าสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้วถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มัน จับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยความสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกงูเบียดเบียน มัน ขบกัดเอาบ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้อง อาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พวกโจรเบียดเบียน มัน ปล้นบ้าง รุมตีบ้าง. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกพวกปิศาจรบกวน มันเข้าสิงบ้าง พาเอาไปบ้าง. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบ อัคคีภัย. ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูกไฟไหม้. ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบ อุทกภัย. ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูก น้ำท่วม. ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. [๒๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้าน อพยพไปเพราะพวกโจรภัย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้าน. ชาวบ้านแยกกันเป็นสองพวก. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่มากกว่า. ชาวบ้านที่มากกว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส. [๒๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ไม่ได้โภชนาหารอัน เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ. พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอัน เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย พวกเธอ พึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอัน เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ และได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัช อันเป็นที่สบาย พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอัน เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว สตรีนิมนต์ว่า ขอท่านจงมา เถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้ เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะยอมเป็นภรรยาของท่าน หรือมิฉะนั้น จะนำสตรีอื่นมาให้เป็น ภรรยาของท่าน. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติ กลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง อาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หญิงแพศยานิมนต์ .... หญิงสาว เทื้อนิมนต์ .... บัณเฑาะก์นิมนต์ .... พวกญาตินิมนต์ .... พระราชาทั้งหลายนิมนต์ .... พวกโจรนิมนต์ .... พวกนักเลงนิมนต์ว่า ขอท่านมาเถิด ขอรับ พวกข้าพเจ้าจักถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาท่าน หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยา ของท่าน. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติ กลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง อาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พบทรัพย์ไม่มีเจ้าของ. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เห็นภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเราอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ภิกษุมากรูป ด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอ จักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษา ขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาส ชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิด อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตร กับเรา เราจักบอกกับภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโส ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลาย สงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การ ทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นมิใช่ มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลาย สงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟัง คำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว. ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุณีเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณี เหล่านั้น ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาดอันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา จบ. จำพรรษาในสถานที่ต่างๆ [๒๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งใคร่จำพรรษาในหมู่โคต่าง. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ จำพรรษาในหมู่โคต่างได้. หมู่โคต่างย้ายไป. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับหมู่โคต่างได้. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไปกับพวกเกวียน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่พวกเกวียนได้. สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไปกับเรือ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ จำพรรษาในเรือได้.จำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร [๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในโพรงไม้. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกปิศาจ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในโพรงไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาบนค่าคบไม้. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพรานเนื้อ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาบนค่าคบไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. [๒๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในที่แจ้ง. เมื่อฝนตกก็พากันวิ่งเข้าไป สู่โพรงไม้บ้าง สู่ชายคาบ้าง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในที่แจ้ง รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายหาเสนาสนะไม่ได้ จำพรรษา เดือดร้อนด้วยความหนาวบ้าง ด้วยความร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่พึงจำพรรษา รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในกระท่อมผี. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกสัปเหร่อ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในกระท่อมผี รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในร่ม. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคนเลี้ยงวัว. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในร่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในตุ่ม. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกเดียรถีย์. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในตุ่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา [๒๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระสงฆ์ในพระนครสาวัตถีได้ตั้งกติกาไว้ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา. หลานชายของนางวิสาขา มิคารมาตา ได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายบอกอย่างนี้ว่า คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาไว้แล้วว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา คุณ จงรออยู่จนกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาเสร็จแล้ว จึงจะบวชให้. ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษา แล้ว ได้บอกหลานชายของนางวิสาขา มิคารมาตาว่า อาวุโส บัดนี้ ท่านจงมาบวชเถิด. เขาจึงเรียนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ถ้ากระผมจักได้บวชแล้วไซร้ จะพึงยินดียิ่ง แต่เดี๋ยวนี้กระผม ยังไม่บวชละ นางวิสาขา มิคารมาตาจึงได้เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้ตั้งกติกาไว้เช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา กาลเช่นไรเล่า จึงไม่ควร ประพฤติธรรม. ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตั้งกติกา เช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา รูปใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ.จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง [๒๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตร ถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิ- *โกศลว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น. ท่านไปสู่อาวาสนั้น ในระหว่างทาง ได้พบอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก จึงคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวร เป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้ เราจึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระคุณเจ้าอุปนนทศากยบุตร ให้ปฏิญาณแก่เราว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยาที่เว้น จากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ? ภิกษุทั้งหลายได้ยินท้าวเธอทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนนท- *ศากยบุตรถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ? ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์. ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนนทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนนท์ ข่าวว่าเธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้า ปเสนทิโกศลว่า จะอยู่จำพรรษา แล้วทำให้คลาดจริงหรือ? ท่านอุปนนทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้า ปเสนทิโกศลว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า? เราติเตียนการพูดเท็จ สรรเสริญกิริยา ที่เว้นจากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยายแล้วมิใช่หรือ? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น พบอาวาส ๒ แห่งมีจีวรมาก ในระหว่างทางจึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้. เธอจึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะรับคำปฏิญาณจำพรรษาต้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดหา เสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดหาเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีก ไปเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ต้น. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้น ของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหารจัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. ยังอีก ๗ วัน จะถึงวันปวารณา เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม. วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา ต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหารจัดหาเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาต้น. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าสู่วิหารจัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. ยังอีก ๗ วัน จะถึงวันปวารณา เธอมีกิจจำเป็นหลีกไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม. วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.ปฏิญาณจำพรรษาหลัง [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัด เสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้า พรรษาหลัง. เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัด เสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหะ- *กรณียะ. เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง .... .... ยังอีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท เธอมีกิจจำเป็นหลีก ไปเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม. วันจำพรรษาหลังของ ภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง. เธอเข้าไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ. เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว .... .... เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย .... .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของเธอไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ. .... เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ. เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา หลัง .... .... ยังอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท เธอมีกิจจำเป็นหลีก ไปเสีย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจักมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม. วันจำพรรษาหลังของ ภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.วัสสูปนายิกขันธกะ ที่ ๓ จบ. ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำขันธกะ [๒๒๓] ๑. เรื่องจำพรรษา ๒. เรื่องจำพรรษาในเวลาไหน ๓. เรื่องวันเข้าพรรษามี เท่าไร ๔. เรื่องเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา ๕. เรื่องไม่ประสงค์จำพรรษา ๖. เรื่องแกล้งไม่ จำพรรษา ๗. เรื่องทรงเลื่อนกาลฝน ๘. เรื่องอุบาสกสร้างวิหาร ๙. เรื่องภิกษุอาพาธ ๑๐. เรื่อง มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง ญาติและบุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุป่วยไข้ ๑๑. เรื่องวิหาร ชำรุด ๑๒. เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน ๑๓. เรื่องงูเบียดเบียน ๑๔. เรื่องพวกโจรเบียดเบียน ๑๕. เรื่องปิศาจรบกวน ๑๖. เรื่องหมู่บ้านประสบอัคคีภัย ๑๗. เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้ ๑๘. เรื่องหมู่บ้านประสบอุทกภัย ๑๙. เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม ๒๐. เรื่องชาวบ้านพากันอพยพ ๒๑. เรื่องผู้ที่เป็นทายกมีจำนวนมากกว่า ๒๒. เรื่องไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีต ไม่ได้ โภชนะและเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร ๒๓. เรื่องถูกสตรีนิมนต์ ๒๔. เรื่องถูก หญิงแพศยานิมนต์ ๒๕. เรื่องถูกหญิงสาวเทื้อนิมนต์ ๒๖. เรื่องถูกบัณเฑาะก์นิมนต์ ๒๗. เรื่อง ถูกพวกญาตินิมนต์ ๒๘. เรื่องถูกพระราชานิมนต์ ๒๙. เรื่องถูกพวกโจรนิมนต์ ๓๐. เรื่องถูก พวกนักเลงนิมนต์ ๓๑. เรื่องพบขุมทรัพย์ ๓๒. เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี ๓๓. เรื่องจำพรรษา ในหมู่โคต่าง ๓๔. เรื่องจำพรรษาในหมู่เกวียน ๓๕. เรื่องจำพรรษาในเรือ ๓๖. เรื่องจำพรรษา ในโพรงไม้ ๓๗. เรื่องจำพรรษาบนค่าคบไม้ ๓๘. เรื่องจำพรรษาในที่แจ้ง ๓๙. เรื่องภิกษุไม่มี เสนาสนะจำพรรษา ๔๐. เรื่องจำพรรษาในกระท่อมผี ๔๑. เรื่องจำพรรษาในร่ม ๔๒. เรื่อง จำพรรษาในตุ่ม ๔๓. เรื่องตั้งกติกา ๔๔. เรื่องให้ปฏิญาณ ๔๕. เรื่องทำอุโบสถนอกวิหาร ๔๖. เรื่องวันจำพรรษาต้น ๔๗. เรื่องวันจำพรรษาหลัง ๔๘. เรื่องไม่มีกิจจำเป็นหลีกไป ๔๙. เรื่อง มีกิจจำเป็นหลีกไป ๕๐. เรื่องพักอยู่ ๒-๓ วัน ๕๑. เรื่องหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๕๒. เรื่อง ยังอีก ๗ วันจะถึงวันปวารณา จะมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม. พึงพิจารณาแนวฉบับ ตามลำดับหัวข้อเรื่อง.ในขันธกะนี้มี ๕๒ เรื่อง ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๕๙๗๑-๖๒๘๑ หน้าที่ ๒๔๔-๒๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5971&Z=6281&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=5971&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=4&siri=69 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=214 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=4&A=6021 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3348 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=4&A=6021 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3348 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i205-e.php#topic9 https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/brahmali#pli-tv-kd3:9.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd3/en/horner-brahmali#Kd.3.8.1
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]