[๕๑๙] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๐] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย
คือ กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๑] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดยสหชาต-
*ปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาต-
*ปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศลเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๓] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย
คือ อกุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๔] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม โดย-
*สหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดย
สหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย
[๕๒๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ-
*จิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยสหชาตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอัพยากตวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป
โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และกฏัตตารูป โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป โดยสหชาตปัจจัย
ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ โดยสหชาตปัจจัย
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูปหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป และกฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป
โดยสหชาตปัจจัย
พาหิรมหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๓
เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ โดย
สหชาตปัจจัย
มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๑ ที่เป็นอาหารสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่
มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๑ ที่เป็นอุตุสมุฏฐาน เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่-
*มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย
มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่
มหาภูตรูป ๒ โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป
สหชาตปัจจัย
[๕๒๖] กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดย
สหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล และมหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดย
สหชาตปัจจัย
[๕๒๗] อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม
โดยสหชาตปัจจัย
คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอกุศลและมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยสหชาตปัจจัย
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๐๒๒-๖๐๗๙ หน้าที่ ๒๓๖-๒๓๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=6022&Z=6079&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=40&A=6022&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=47
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=519
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=40&A=3265
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=40&A=3265
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐
http://84000.org/tipitaka/read/?index_40
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
