ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
             [๕๔๔] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา
             บุคคลออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลาย กระทำโคตรภู ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำ
โวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             พระเสขะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
พิจารณา
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล
ขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้ เกิดขึ้นยังอภิญญาให้
เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น
             ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทุติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งตติยฌาน เป็นปัจจัยแก่ตติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งจตุตถฌาน เป็นปัจจัยแก่จตุตถฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
             บริกรรมแห่งวิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดย
อุปนิสสยปัจจัย
             ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
             จตุตตถฌาน เป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่
วิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่อกิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทิพโสตธาตุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งเจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดย
อุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทิพจักษุ เป็นปัจจัยแก่ทิพจักษุ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทิพโสตธาตุ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อิทธิวิธญาณ เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             เจโตปริยญาณ เป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นปัจจัยแก่ยถากัมมุปคญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ยถากัมมุปคญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พระเสขะทั้งหลาย อาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าซึ่งสมาบัติ
ที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ-
*ปฏิสัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ของพระเสขะทั้งหลาย โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
             [๕๔๕] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็นอารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
กระทำกุศลนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้น
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้ดีแล้วแต่ก่อนๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลออกจากฌาน แล้วกระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วยินดีเพลิดเพลิน
เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             ที่เป็นปกตูปนิสสยา ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา ถือมานะ ทิฏฐิ
             บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วถือมานะ ทิฏฐิ
             ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
และแก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๔๖] กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสย ได้แก่พระอรหันต์ออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานา-
*สัญญายตนกุศลของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยศรัทธา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำให้ตน
เร่าร้อน เสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล
             บุคคลอาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แล้วทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้เร่าร้อน
ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล
             ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่ผล
สมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             กุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พระอรหันต์ อาศัยมรรค ยังกิริยาสมบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าถึงกิริยาสมบัติที่
เกิดขึ้น แล้วพิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิ-
*สัมภิทา และแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะของพระอรหันต์ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๔๗] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสย
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วเพลิดเพลินยินดี เพราะกระทำ
ทิฏฐิให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อกุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์
ที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
ไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำการ
ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักอยู่ทางเปลี่ยว คบหาทาระของชายอื่น ทำการฆ่าชาวบ้าน ทำการ
ฆ่าชาวนิคม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย
ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
             บุคคลอาศัยโทสะแล้ว ฯลฯ
             บุคคลอาศัยโมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์
ให้แตกกัน
             ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ และแก่ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๔๘] ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปาณาติบาต เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท และแก่มิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่อทินนาทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อทินนาทาน เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิ และแก่
ปาณาติบาต โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พึงผูกให้เป็นจักกเปยยาล
             [๕๔๙] กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่กาเมสุมิจฉาจาร โดยอุปนิสสยปัจจัย
             กาเมสุมิจฉาจาร เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อทินนาทาน โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่มุสาวาท โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มุสาวาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่กาเมสุมิจฉาจาร โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปิสุณาวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปิสุณาวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่มุสาวาท โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ผรุสวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ผรุสวาจา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ปิสุณาวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่สัมผัปปลาปะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             สัมผัปปลาปะ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่ผรุสวาจา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่อภิชฌา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อภิชฌา เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่สัมผัปปลาปะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พยาบาท เป็นปัจจัยแก่พยาบาท โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พยาบาท เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ฯลฯ แก่อภิชฌา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท
ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๕๐] มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มาตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปาทกรรม
สังฆเภทกรรม และแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่ปิตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ปิตุฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โรหิรุปาทกรรม สังฆเภทกรรม
นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมาตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่อรหันตฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อรหันตฆาตกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปาทกรรม ฯลฯ ปิตุฆาตกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โรหิรุปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่โรหิรุปาทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โรหิรุปาทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม ฯลฯ อรหันตฆาตกรรม โดยอุปนิสสย
ปัจจัย
             สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่สังฆเภทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             สังฆเภทกรรม เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ โรหิรุปาทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             นิยตมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม
โรหิรุปาทกรรม และแก่สังฆเภทกรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พึงกระทำให้เป็นจักกเปยยาล
             [๕๕๑] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา-
*ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาแล้วให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา
ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             ราคะโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             บุคคลฆ่าสัตว์ เพื่อจะลบล้างผลแห่งปาณาติบาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของอทินนาทานนั้น จึงให้
ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลกล่าวเท็จแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของมุสาวาทนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น
             บุคคลกล่าวคำส่อเสียดแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของปิสุณาวาจานั้น จึงให้ทาน ฯลฯ
ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลคำหยาบแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของผรุสวาทนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น
             บุคคลกล่าวคำเพ้อเจ้อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลสัมผัปปลาปะนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยัง-
*สมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลตัดที่ต่อแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น
             บุคคลปล้นไม่ให้เหลือแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น
             บุคคลทำการปล้นในเรือนหลังหนึ่งแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ
ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลคอยดักอยู่ในทางเปลี่ยวแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ
ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลคบหาทาระของชายอื่นแล้ว เพื่อจะลบล้างผลกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ ยัง-
*สมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำการฆ่าชาวบ้านแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน ฯลฯ
ยังสมาบัติให้ เกิดขึ้น
             บุคคลฆ่าชาวนิคมแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบลถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น
             บุคคลฆ่ามารดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของมาตุฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม
             บุคคลฆ่าบิดาแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของปิตุฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบสถกรรม
             บุคคลฆ่าพระอรหันต์แล้ว เพื่อจะลบล้างผลของอรหันตฆาตนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม
             บุคคลยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้ายแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของโลหิตุป-
*บาทนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
             บุคคลทำลายสงฆ์ให้แตกกันแล้ว เพื่อจะลบล้างผลของสังฆเภทนั้น  จึงให้ทานศีล
สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม
             [๕๕๒] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อกุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยราคะแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน ทำตนให้
เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล
             บุคคลอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาแล้ว ทำตนให้เดือดร้อน
ทำตนให้เร่าร้อน ย่อมเสวยทุกข์ มีการแสวงหาเป็นมูล
             ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์-
*ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบาก โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๕๓] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่พระอรหันต์กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา
             นิพพานเป็นปัจจัยแก่ผล โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา
ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิดหลังๆ
โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ
             กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
             อนุโลมญาณของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
             เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผล
สมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และ
ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ทุกข์ทางกายเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
             อุตุเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             โภชนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย-
*ปัจจัย
             สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ทุกข์-
*ทางกาย และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย
             พระอรหันต์อาศัยสุขทางกาย ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าถึงกิริยาสมาบัติ
ที่ เกิดขึ้น แล้ว พิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
             พระอรหันต์อาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ ยังกิริยาสมาบัติที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น เข้ากิริยาสมาบัติที่เกิดขึ้น แล้วพิจารณาสังขารโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
             [๕๕๔] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่พระเสขะทั้งหลาย กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่าง-
*หนักแน่น แล้วพิจารณา กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพาน
เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล
โดยอุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ โดยแก่บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วให้ทาน สมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญา
ให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วให้ทาน สมาทานศีล กระทำ
อุโบสถกรรม ยังฌานให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้
เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น
             สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา โดยอุปนิสสยปัจจัย
             [๕๕๕] อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย
             มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ
             ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลกระทำจักษุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มีราคะ ทิฏฐิ เกิดขึ้น
             บุคคลกระทำโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
และขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะกระทำโสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น มี ราคะ ทิฏฐิ
เกิดขึ้น
             ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย โดย
อุปนิสสยปัจจัย
             ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่บุคคลอาศัยสุขทางกาย แล้วฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เขา
ไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ปล้น
ในเรือนหลังหนึ่ง คอยดักในทางเปลี่ยว คบหาทาระของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม
ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ยังโลหิตพระตถาคตให้ห้อด้วยจิตประทุษร้าย ทำสงฆ์ให้
แตกกัน
             บุคคลอาศัยทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ แล้วฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำสงฆ์ให้
แตกกัน
             สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๖๑๖๘-๖๔๔๓ หน้าที่ ๒๔๒-๒๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=40&A=6168&Z=6443&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=40&A=6168&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=40&siri=50              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=544              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=40&A=3428              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=11486              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=40&A=3428              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=11486              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]