บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
ปัญหาวาร [๑๒๓๓] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายโดยเหตุปัจจัย [๑๒๓๔] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๑๒๓๕] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุทั้งหลาย [๑๒๓๖] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ฯลฯ มี ๓ นัย เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๒๓๗] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผลที่เป็นเสกขธรรม รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นเสกขธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๒๓๘] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอรหันต์พิจารณาผลที่เป็นอเสกขธรรม รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอเสกขธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติ- *ญาณ แก่อนาคตสังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๒๓๙] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้วพิจารณากุศลกรรมนั้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลาย ที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน พิจารณาเห็นจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุนั้น ราคะเกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น โสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง โทมนัส ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนา อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย [๑๒๔๐] เนวเสกขานาเสกธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผลที่เป็นเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย [๑๒๔๑] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย [๑๒๔๒] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๓] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคกระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำผลที่เป็นเสกขธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรม ที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน- *รูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๔] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๕] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๖] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอรหันต์กระทำผลที่เป็นอเสกขธรรมให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๗] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๘] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา กระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา ออกจากฌาน กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน โดยอธิปติปัจจัย บุคคลกระทำจักขุให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะเกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น โสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรมให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำโสตะเป็นต้นนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะเกิดขึ้น ทิฏฐิเกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๔๙] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล ที่เป็น เสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๕๐] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอเสกขธรรม โดยอธิปติปัจจัย [๑๒๕๑] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น เสกขธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นเสกขธรรม ผลที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็น เสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๒] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๓] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ผลที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๔] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเสกขธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อเสกขธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ผลที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ผลที่เป็นอเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๕] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ผลที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๖] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *อนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ที่เกิดหลังๆ อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็น ปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม โดย อนันตรปัจจัย [๑๒๕๗] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม เนวสัญญานาสัญญายตนะของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๘] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม เนวสัญญานาสัญญายตนะของ บุคคลผู้ออกจากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรมโดยอนันตรปัจจัย [๑๒๕๙] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยสหชาตปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๘ [๑๒๖๐] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยสหชาตปัจจัย เหมือนกับ สหชาตปัจจัยในปฏิจจวาร มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวารมีหัวข้อปัจจัย ๓ ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับนิสสยปัจจัยในกุสลัตติกะ มีหัวข้อปัจจัย ๑๓ [๑๒๖๑] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยนิสสย ปัจจัย ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัยตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๒] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๓] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยัง สมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา แก่ธัมมปฏิสัมภิทา แก่นิรุตติปฏิสัมภิทา แก่ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แก่ฐานาฐานโกสัลละ ของพระอริยะทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติ ที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๔] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเสกขธรรม ที่เกิด ก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ฯลฯ ผลที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ผล ที่เป็นอเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๕] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรมเป็นปัจจัยแก่สุข ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๖] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกข- *ธรรมแล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ โมหะ สุขทางกาย ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ศีล ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ความปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัยบริกรรมแห่งเนว- *สัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน โดยอุปนิสสยปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอุปนิสสย ปัจจัย [๑๒๖๗] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๘] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ ฤดู โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๒๖๙] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็น อารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุนั้น ราคะเกิดขึ้น โทมนัส ฯลฯ โสตะ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็น ทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็น วัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณกายายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวาเสกขานาเสกขธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๒๗๐] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น เสกขธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๒๗๑] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อเสกขธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๒๗๒] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยปัจฉาชาต- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๒๗๓] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยปัจฉาชาต- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ที่เกิดก่อน ฯลฯ [๑๒๗๔] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *ปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน [๑๒๗๕] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *อาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย [๑๒๗๖] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย [๑๒๗๗] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น เสกขธรรม ซึ่งเป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย [๑๒๗๘] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย [๑๒๗๙] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๐] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๑] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๒] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๓] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๔] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *กัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็น สหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ที่เป็น นานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ซึ่งเป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๒๘๕] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเสกขธรรมซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ในเสกขมูลกะ มีหัวข้อปัจจัย ๓ [๑๒๘๖] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยวิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯในอเสกขมูลกะ มีหัวข้อปัจจัย ๓ [๑๒๘๗] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *วิปากปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปากปัจจัย [๑๒๘๘] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดย มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดย สัมปยุตตปัจจัย [๑๒๘๙] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๒๙๐] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต เหมือนกับเสกขธรรม [๑๒๙๑] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่กาย นี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๒๙๒] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๒๙๓] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเสกข- *ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๒๙๔] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ [๑๒๙๕] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด ก่อน โดยอัตถิปัจจัย [๑๒๙๖] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *อัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๑๒๙๗] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับเสกขธรรม [๑๒๙๘] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย- *อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเนวเสกขานาเสกธรรมเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ พาหิรรูป ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญ- *สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ที่เป็น ปุเรชาต ได้แก่ บุคคลพิจารณาเห็นจักขุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดย ความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุนั้น ราคะ เกิดขึ้น โทมนัส ฯลฯ โสตะ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรมโดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๑๒๙๙] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๑๓๐๐] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย [๑๓๐๑] เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นเสกขธรรม และหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ [๑๓๐๒] เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานา- *เสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย ที่เป็น สหชาต ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเสกขธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม และกวฬิงการาหาร เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็น ปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๑๓๐๓] อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอัตถิปัจจัย พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๒ เหมือนกับเสกขธรรม [๑๓๐๔] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๕ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๘ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๘ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย มี " ๑๓ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๘ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒ ในกัมมปัจจัย มี " ๘ ในวิปากปัจจัย ในอาหารปัจจัย ในอินทริยปัจจัย ในฌานปัจจัย ในมัคคปัจจัย มีวาระ ๗ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๑๓ ในนัตถิปัจจัย มี " ๘ ในวิคตปัจจัย มี " ๘ ในอวิคตปัจจัย มี " ๑๓พึงนับอย่างนี้ อนุโลม จบ [๑๓๐๕] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๓๐๖] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๓๐๗] เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดย สหชาตปัจจัย [๑๓๐๘] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๓๐๙] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๓๑๐] อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม โดยสหชาตปัจจัย [๑๓๑๑] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม โดย โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย [๑๓๑๒] เนวเสกขานาเสกธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย [๑๓๑๓] เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย [๑๓๑๔] เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต [๑๓๑๕] เสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานา- *เสกขธรรม ฯลฯ มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย [๑๓๑๖] อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ฯลฯ มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต [๑๓๑๗] อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานา- *เสกขธรรม ฯลฯ มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทริย [๑๓๑๘] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มีวาระ ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๑๐ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มีวาระ ๑๐ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๑๐ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๑๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๑๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มีวาระ ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๑๐ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๘ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๘ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๑๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๘พึงนับอย่างนี้ ปัจจนียะ จบ [๑๓๑๙] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย กับ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗พึงนับอย่างนี้ อนุโลมปัจจนียะ จบ [๑๓๒๐] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๕ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในสมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในสหชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๑๓ ในอุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๒ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ ในอาหารปัจจัย กับ ฯลฯ ในอินทริยปัจจัย กับ ฯลฯ ในฌานปัจจัย กับ ฯลฯ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มีวาระ ๗ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในวิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑๓ ในนัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๘ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑๓พึงนับอย่างนี้ ปัจจนียานุโลม จบ ปัญหาวาร จบ เสกขัตติกะ ที่ ๑๑ จบ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๙๒๓๐-๙๗๐๖ หน้าที่ ๓๙๒-๔๑๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=41&A=9230&Z=9706&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=41&A=9230&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=41&siri=25 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1233 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=41&A=7489 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=41&A=7489 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_41
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]