สมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น
[๓๒๙] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะ ...
ไม่มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง ...
ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวยาคู ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกผลไม้ ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังมิได้แจกย่อมเสีย ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจกของเคี้ยว คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกแล้วและยังมิได้แจก ฯ
วิธีสมมติ
[๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุ
ก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้
แจกของเคี้ยว การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของของเคี้ยวชอบแก่
ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเคี้ยวแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
สมมติภิกษุเป็นผู้แจกของเล็กน้อย
[๓๓๑] สมัยนั้น บริขารเล็กน้อยเกิดขึ้นในเรือนคลังของสงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจกของเล็กน้อย คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักของที่แจกแล้วและมิได้แจก ฯ
วิธีสมมติ
[๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุ
ก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อยนี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเล็กน้อย การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว ชอบแก่
สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ของเล็กน้อยที่ควรแจก
[๓๓๓] อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้น เข็มเล่มหนึ่งก็ควรให้ มีดก็ควร
ให้ รองเท้าก็ควรให้ ประคดเอวก็ควรให้ สายโยกบาตรก็ควรให้ ผ้ากรองน้ำ
ก็ควรให้ ธมกรกก็ควรให้ ผ้ากุสิก็ควรให้ ผ้าอัฑฒกุสิก็ควรให้ ผ้ามณฑลก็
ควรให้ ผ้าอัฑฒมณฑลก็ควรให้ ผ้าอนุวาตก็ควรให้ ผ้าด้านสะกัดก็ควรให้ ถ้า
เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยของสงฆ์มีอยู่ ควรให้ลิ้มได้คราวเดียว ถ้า
ต้องการอีก ก็ควรให้อีก ถ้าต้องการแม้อีก ก็ควรให้อีก ฯ
พุทธานุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้แจกผ้าเป็นต้น
[๓๓๔] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ...
ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ...
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ...
ไม่มีภิกษุใช้สามเณร ... สามเณรทั้งหลายอันภิกษุไม่ใช้ ย่อมไม่ทำ
การงาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ รับสั่งว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ใช้สามเณร คือ:-
๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ
๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
๕. รู้จักการงานที่ใช้แล้วและยังมิได้ใช้ ฯ
-----------------------------------------------------
วิธีสมมติ
[๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุ
ก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
-----------------------------------------------------
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น
ผู้ใช้สามเณร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ เป็นผู้ใช้สามเณร ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ใช้สามเณรแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
ภาณวาร ที่ ๓ จบ
เสนาสนะขันธกะ ที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๘๗๓-๒๙๕๗ หน้าที่ ๑๑๙-๑๒๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2873&Z=2957&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=2873&pagebreak=0
ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=45
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=329
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=2942
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=8742
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=2942
The Pali Atthakatha in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=8742
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗
http://84000.org/tipitaka/read/?index_7
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.21.2
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
