ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔
อานิสงส์กรานกฐิน
[๑๒๒๓] อุ. การกรานกฐิน มีอานิสงส์เท่าไรหนอแล พุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การกรานกฐิน มีอานิสงส์ ๕ นี้. อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. เที่ยวจาริกไปไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓. ฉันคณะโภชน์ได้ ๔. เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นจักเป็นของพวกเธอ ดูกรอุบาลี การกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
โทษของการนอนลืมสติ
[๑๒๒๔] อุ. บุคคลผู้นอนลืมสติไม่รู้ตัว นอนหลับ มีโทษเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัว นอนหลับ มีโทษ ๕ นี้. โทษ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. หลับไม่สบาย ๒. ตื่นขึ้นไม่สบาย ๓. ฝันเห็นสิ่งเลวทราม ๔. เทวดาไม่รักษา ๕. น้ำอสุจิเคลื่อน ดูกรอุบาลี บุคคลผู้ลืมสติไม่รู้สึกตัวนอนหลับมีโทษ ๕ นี้แล.
อานิสงส์ของการนอนมีสติ
ดูกรอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้. อานิสงส์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. หลับสบาย ๒. ตื่นขึ้นสบาย ๓. ไม่ฝันเห็นสิ่งเลวทราม ๔. เทวดารักษา ๕. น้ำอสุจิไม่เคลื่อน ดูกรอุบาลี บุคคลผู้ตั้งสติ รู้สึกตัวอยู่ นอนหลับ มีอานิสงส์ ๕ นี้แล.
บุคคลไม่ควรไหว้
[๑๒๒๕] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้นี้มี ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ละแวกบ้าน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๒. ภิกษุผู้เข้าไปสู่ถนน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๓. ภิกษุผู้อยู่ในที่มืด อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๔. ภิกษุผู้ไม่เอาใจใส่ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕. ภิกษุผู้หลับ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้มี ๕ นี้แล. ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้เวลาดื่มยาคู ๒. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ในโรงภัตร ๓. ภิกษุผู้เป็นศัตรู อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๔. ภิกษุผู้กำลังคิดเรื่องอื่น อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕. ภิกษุกำลังเปลือยกาย อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล. ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุกำลังเคี้ยว อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๒. ภิกษุกำลังฉัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๓. ภิกษุกำลังถ่ายอุจจาระ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๔. ภิกษุกำลังถ่ายปัสสาวะ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕. ภิกษุถูกสงฆ์ยกวัตร อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ดูกรอุบาลี ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล. ดูกรอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุผู้อุปสมบททีหลัง อันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ ๒. อนุปสัมบัน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๓. ภิกษุมีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที อันภิกษุทั้งหลายไม่ควร ไหว้ ๔. สตรี อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕. บัณเฑาะก์ อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ดูกรอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล. ดูกรอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ แม้อื่นอีก ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุอยู่ปริวาส อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๒. ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๓. ภิกษุผู้ควรมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๔. ภิกษุประพฤติมานัต อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕. ภิกษุผู้ควรอัพภาน อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ดูกรอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายไม่ควรไหว้ ๕ นี้แล.
บุคคลควรไหว้
[๑๒๒๖] อุ. ภิกษุ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี บุคคล อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้นี้ มี ๕. ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน อันภิกษุผู้อุปสมบททีหลังควรไหว้ ๒. ภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน มีพรรษาแก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที อันภิกษุทั้งหลาย ควรไหว้ ๓. พระอาจารย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้ ๔. พระอุปัชฌาย์ อันภิกษุทั้งหลายควรไหว้ ๕. พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันประชา ทั้งสมณะและพราหมณ์ ทั้ง เทพดามนุษย์ในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ควรไหว้ ดูกรอุบาลี บุคคลอันภิกษุควรไหว้ ๕ นี้แล.
ธรรมของภิกษุอ่อนกว่ากับภิกษุแก่กว่า
[๑๒๒๗] อุ. พระพุทธเจ้าข้า อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าของภิกษุผู้แก่กว่า พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วไหว้เท้า? พ. ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึงตั้งธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วไหว้เท้า. ธรรม ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า ๑. พึงห่มผ้าเฉวียงบ่า ๒. ประคองอัญชลี ๓. นวดเท้าด้วยฝ่ามือทั้งสอง ๔. มีความรัก ๕. มีความเคารพ แล้วไหว้เท้า ดูกรอุบาลี อันภิกษุผู้อ่อนกว่า เมื่อไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ นี้ไว้ ในตน แล้วไหว้เท้า.
กฐินัตถารวรรคที่ ๑๔ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๒๒๘] กรานกฐิน ๑ หลับ ๑ ละแวกบ้าน ๑ ดื่มยาคู ๑ เคี้ยว ๑ อุปสมบท ก่อน ๑ อยู่ปริวาส ๑ บุคคลควรไหว้ ๑ ภิกษุอ่อนกว่าไหว้ภิกษุแก่กว่า ๑.
อุปาลิปัญจกะ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อบอกวรรคเหล่านั้น
[๑๒๒๙] อนิสสิตวรรค ๑ กรรมวรรค ๑- ๑ โวหารวรรค ๑ ทิฏฐาวิกัมมวรรค ๑ โจทนาวรรค ๒- ๑ ธุตังควรรค ๑ มุสาวาทวรรค ๑ ภิกขุนีโอวาทวรรค ๑ อุพพาหิกวรรค ๑ อธิกรณวูปสมวรรค ๑ สังฆเภทวรรค ๑ สังฆเภท ๕ อย่าง เหมือนก่อน ๓- ๑ อาวาสิกวรรค ๑ กฐินัตถารวรรค ๑ รวม ๑๔ วรรค ท่านประกาศไว้ดีแล้วแล. @ นัปปฏิปัสสัมภนวรรค อัตตาทานวรรค ทุติยสังฆเภทวรรค

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๒๓๖๒-๑๒๔๖๖ หน้าที่ ๔๗๖-๔๗๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=12362&Z=12466&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=8&A=12362&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=119              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1223              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=10260              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=10260              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:240.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#BD.6.329

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]