ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๑๔.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์

สารีบุตร อาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างยังไม่เกิดในสงฆ์ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ เป็นหมู่ใหญ่เพราะความเป็นพหูสูต เมื่อสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่เพราะความเป็นพหูสูต และมีอาสวัฏฐานิยธรรมบางอย่างเกิดในสงฆ์ ตถาคตจะบัญญัติสิกขาบท จะยก ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สาวก เพื่อขจัดธรรมเหล่านั้น สารีบุตร ก็ภิกษุสงฆ์ยังไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ไม่มีสิ่งมัวหมอง บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ดำรงอยู่ในสารคุณ แท้จริงในภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ผู้มีคุณธรรมอย่างต่ำก็ชั้น โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า๑-”
เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
[๒๒] ต่อมา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า “อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษา จะไม่จากไป เรื่องนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย เราจะไปลาเวรัญชพราหมณ์” พระ อานนท์ทูลสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๒- มีพระ อานนท์ตามเสด็จ เสด็จพระพุทธดำเนินไปถึงนิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึง แล้วจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ทรงบอกเวรัญชพราหมณ์ผู้มาเฝ้าว่า “ท่านนิมนต์เราอยู่จำพรรษา เราขอลาท่าน ต้องการจะจาริกไปในชนบท” เวรัญชพราหมณ์กราบทูลว่า “เป็นความจริง ข้าพระพุทธเจ้านิมนต์ท่านพระ โคดมอยู่จำพรรษา แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ถวายไทยธรรมที่ได้ตั้งใจเอาไว้ สิ่งนั้น @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิปรายณะ จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า คือ อุปริ มคฺคตฺตยํ อวสฺสํ สมฺปาปโก... ปฏิลทฺธ- @ปฐมมคฺคตฺตา จะบรรลุมรรค ๓ ชั้นสูงขึ้นไปแน่นอน เพราะได้ปฐมมรรค(คือโสดาปัตติมรรค)แล้ว @(วิ.อ. ๑/๒๑/๒๐๓); อุปริมคฺคตฺตยสงฺขาตา สมฺโพธิ สัมโพธิ คือ มรรค ๓ (สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค @อรหัตตมรรค) ที่สูงขึ้นไป (สารตฺถ.ฏีกา. ๑/๒๑/๕๕๙). @ คำว่า “ทรงครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร” นี้มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงนุ่งสบง @มิใช่ว่าพระองค์ถือบาตรและจีวรไปโดยเปลือยพระกายส่วนบน คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงพระองค์ @ผลัดเปลี่ยนสบงหรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวร @ด้วยกาย คือ ห่มจีวรอุ้มบาตรนั่นเอง (วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.อ. ๒/๑๕๓/๑๔๓, ม.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, อุทาน.อ. ๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=14&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=373 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=373#p14 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]