ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๑๗-๒๐.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สุทินนภาณวาร

๑. ปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม
สุทินภาณวาร
[๒๔] สมัยนั้น ที่หมู่บ้านกลันทคามไม่ห่างจากกรุงเวสาลี มีบุตรชายเศรษฐี ชาวกลันทคาม ชื่อสุทิน วันหนึ่ง เขามีธุระบางอย่างจึงเดินทางไปในกรุงเวสาลีกับเพื่อนๆ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคกำลังประทับนั่งแสดงธรรมห้อมล้อมด้วยบริษัทจำนวนมาก เขาได้เห็นแล้ว มีความคิดว่า “ทำอย่างไรหนอ เราจึงจะได้ฟังธรรมบ้าง” จึงเข้าไปยัง บริษัทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงนั้น เราเข้าใจว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์อย่างยิ่งเหมือนสังข์ที่ขัดแล้ว มิใช่กระทำได้ง่าย’ อย่ากระนั้นเลย เราควรจะ ปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนไปบวชเป็นอนาคาริก” ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว บริษัทก็ลุกขึ้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป [๒๕] หลังจากบริษัทจากไปไม่นาน สุทินกลันทบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ ภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร สุทินกลันทบุตรผู้นั่ง ณ ที่ สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ธรรมตามที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่งเหมือนสังข์ที่ขัดแล้ว มิใช่กระทำได้ง่าย’ ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนมา บวช เป็นอนาคาริก ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชด้วยเถิด” “สุทิน มารดาบิดาอนุญาตให้เธอออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริกแล้วหรือ” “ยังมิได้อนุญาต พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สุทินนภาณวาร

“สุทิน พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่บวชให้กุลบุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาต” “ข้าพระพุทธเจ้า จักหาวิธีให้มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจาก เรือนมาบวชเป็นอนาคาริก พระพุทธเจ้าข้า”
ขออนุญาตออกบวช
[๒๖] ต่อมา สุทินกลันทบุตรทำธุระในกรุงเวสาลีเสร็จแล้ว กลับไปหา มารดาบิดาที่กลันทคาม ครั้นถึงแล้วจึงกล่าวกับมารดาบิดาดังนี้ว่า “คุณพ่อคุณแม่ ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงนั้น ลูกเข้าใจว่า ‘การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะ ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่งเหมือนสังข์ที่ขัดแล้วนี้มิใช่ทำได้ง่าย’ ลูกปรารถนาจะปลงผม โกนหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนไปบวชเป็น อนาคาริก คุณพ่อคุณแม่โปรดอนุญาตให้ลูกออกไปบวชเป็นอนาคาริกเถิด” เมื่อสุทินกลันทบุตรกล่าวอย่างนี้ มารดาบิดาตอบว่า “ลูกสุทิน เจ้าเป็นลูก คนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการ เลี้ยงดูมาอย่างดี ความทุกข์ยากสักนิดหนึ่งลูกก็ยังไม่รู้จัก ถึงลูกจะตายไป พ่อแม่ ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉน พ่อแม่จะยอมให้ลูกผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน ไปบวชเป็นอนาคาริกเล่า” สุทินกลันทบุตรได้กล่าวกับมารดาบิดาดังนี้เป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ มารดาบิดาก็ตอบว่า “ลูกสุทิน เจ้าเป็นลูกคนเดียว ฯลฯ เหตุไฉน พ่อแม่จะยอมให้ลูกผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นอนาคาริกเล่า” [๒๗] ลำดับนั้น สุทินกลันทบุตรวิตกว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราบวชแน่ จึงนอนบนพื้นที่ไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเอง ตัดสินใจว่า เราจักตาย หรือจักได้บวช ก็ที่ตรงนี้แหละ และแล้วเขาก็อดอาหารไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ ๑ มื้อ ๒ มื้อ ๓ มื้อ ๔ มื้อ ๕ มื้อ ๖ มื้อ จนถึง ๗ มื้อ
มารดาบิดาไม่อนุญาต
[๒๘] ถึงกระนั้น มารดาบิดาของเขาก็คงยืนยันว่า “ลูกสุทิน เจ้าเป็นลูกคน เดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สุทินนภาณวาร

เลี้ยงดูมาอย่างดี ความทุกข์ยากสักนิดหนึ่ง ลูกก็ยังไม่รู้จัก ถึงลูกจะตายไป พ่อแม่ก็ ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉนพ่อแม่จะยอมให้ลูกผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไป บวชเป็นอนาคาริกได้เล่า ลุกขึ้นเถิด ลูกสุทิน จงกิน จงดื่ม จงรื่นเริง จงพอใจกิน ดื่ม รื่นเริง ใช้สอยโภคทรัพย์ทำบุญเถิด ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็จะไม่อนุญาตให้ลูก บวชแน่” เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้ สุทินกลันทบุตรได้นิ่งเฉยเสีย มารดาบิดาได้ ยืนยันกะสุทินกลันทบุตรแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ลูกสุทิน เจ้าเป็นลูกคนเดียว เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ ฯลฯ ลูกสุทิน จงกิน จงดื่ม จงรื่นเริง จงพอใจกิน ดื่ม รื่นเริง ใช้สอยโภคทรัพย์ทำบุญเถิด ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็จะไม่อนุญาตให้ลูกบวชแน่” สุทินกลันทบุตรก็ได้นิ่งเป็นครั้งที่ ๓
พวกเพื่อนช่วยเจรจา
ต่อมา พวกเพื่อนของสุทินกลันทบุตร พากันเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ ปลอบใจว่า “สุทินเพื่อนรัก เพื่อนเป็นลูกคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ความทุกข์ยากสักนิด หนึ่ง เพื่อนก็ยังไม่รู้จัก ถึงเพื่อนจะตายไป พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉน พ่อแม่จะยอมให้เพื่อนผู้ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นอนาคาริกได้เล่า ลุกขึ้นเถิด เพื่อนรัก เพื่อนจงกิน จงดื่ม จงรื่นเริง พอใจกิน ดื่ม รื่นเริง ใช้สอยโภคทรัพย์ทำบุญ เถิด ถึงจะอย่างไร พ่อแม่ก็ไม่อนุญาตให้เพื่อนบวชแน่” เมื่อพวกเพื่อนกล่าวอย่างนี้ สุทินกลันทบุตรก็ได้แต่นิ่งเฉย พวกเพื่อนได้ ปลอบใจสุทินกลันทบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ฯลฯ เป็นครั้งที่ ๓ ว่า “สุทินเพื่อนรัก เพื่อน เป็นลูกคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของพ่อแม่ ฯลฯ พ่อแม่ก็ไม่อนุญาตให้เพื่อนบวช แน่” สุทินกลันทบุตรก็ได้นิ่งเฉยเป็นครั้งที่ ๓ [๒๙] ต่อมา พวกสหายพากันเข้าไปหามารดาบิดาของสุทินกลันทบุตรถึง ที่อยู่ กล่าวว่า “คุณพ่อคุณแม่ครับ สุทินนอนบนพื้นที่ไม่มีเครื่องปูลาดตัดสินใจว่า เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้แหละ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมให้เขาบวช เขาจัก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๑๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

                                                                 ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ สุทินนภาณวาร

ตาย ณ ที่ตรงนั้นแน่ แต่ถ้ายอมให้เขาออกบวช คุณพ่อคุณแม่ ก็ยังจะได้พบเห็น เขาแม้บวชแล้ว ถ้าไม่ยินดีจะบวชอยู่ต่อไป เขาจะมีทางไปที่ไหนอื่นเล่า จะต้องกลับ มาที่นี้แหละ อนุญาตให้เขาบวชเถิดขอรับ” มารดาบิดาของสุทินจึงกล่าวว่า “ลูก ทั้งหลาย พ่อและแม่อนุญาตให้เขาบวชได้”
สุทินกลันทบุตรออกบวช
ต่อมา พวกเพื่อนพากันเข้าไปหาเขาถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับสุทิน กลันทบุตรดังนี้ว่า “ลุกขึ้นเถิดสุทินเพื่อนรัก มารดาบิดาอนุญาตให้เพื่อนบวชแล้ว” [๓๐] ทันใดนั้น พอสุทินกลันทบุตรได้ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตให้บวช ก็ร่าเริงดีใจมาก ลุกขึ้นมาใช้ฝ่ามือเช็ดตัว บำรุงกำลังอยู่ ๒-๓ วัน แล้วไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่ สมควร สุทินกลันทบุตรผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนมาบวชเป็นอนาคาริกแล้ว ขอ พระผู้มีพระภาคได้โปรดบวชให้ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” สุทินกลันทบุตรได้รับการบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระพุทธเจ้า เมื่อ บวชได้ไม่นาน ท่านพระสุทินได้ถือธุดงควัตรดังนี้ คือ อยู่ป่าเป็นวัตร ๑ เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร ๑ ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๑ เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเรือน เป็นวัตร ๑ พักอาศัยอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง
พระสุทินกลันทบุตรไปเยี่ยมบ้าน
สมัยนั้น แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาต ยังชีพได้ ท่านพระสุทินได้มีความคิดดังนี้ว่า บัดนี้ แคว้นวัชชีเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาว เกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ แต่ในกรุงเวสาลี เรามีญาติอยู่จำนวน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๗-๒๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=17&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=433 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=433#p17 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗-๒๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]