ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๔๑๒-๔๑๕.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. ปฐมทุฏฐโทสสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร
[๓๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร บรรลุอรหัตตผล เมื่ออายุ ๗ ขวบ คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้ว ทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติม อีกก็ไม่มี ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึง อย่างนี้ว่า เราได้บรรลุอรหัตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระ สาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไรๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้ หรือกิจ ที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง ลำดับนั้น ท่านตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจงเสนาสนะและแจก ภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควรแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ ๗ ขวบ ฯลฯ หรือกิจที่ทำ เสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้า พึงจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระ พุทธเจ้าปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจง เสนาสนะและแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลรับสนองพระพุทธ ดำรัสแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ๑-
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตรให้ เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
วิธีแต่งตั้ง และกรรมวาจาแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า [๓๘๑] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงแต่งตั้ง ท่านพระทัพพมัลลบุตรให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระทัพพมัลล บุตรให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง พระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” [๓๘๒] ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้รับแต่งตั้งแล้วย่อมจัดแจงเสนาสนะ สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันรวมไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะ สำหรับภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักซัก ซ้อมพระสูตรกัน จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน @เชิงอรรถ : @ เสนาสนปัญญาปกะ คือภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ ภัตตุทเทสกะ คือภิกษุผู้ได้ @รับการแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่จัดภัตตาหารถวายสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๑๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วย ประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักสนทนาพระอภิธรรมกัน จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ได้ฌานรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านั้นจักไม่รบกวนกัน จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ชอบกล่าวติรัจฉานกถา ผู้มากไปด้วยการ บำรุงร่างกายรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านี้จะอยู่ตามความพอใจ ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้นเข้าเตโชกสิณ แล้วจัดแจงเสนาสนะด้วยแสงสว่างนั้น สำหรับภิกษุที่มาในเวลาค่ำคืน ภิกษุทั้งหลายจงใจมาในเวลาค่ำคืน ด้วยประสงค์ว่า “พวกเราจะชมอิทธิ ปาฏิหาริย์ของท่านพระทัพพมัลลบุตร” ก็มี พวกเธอพากันเข้าไปหาท่านพระ ทัพพมัลลบุตร กล่าวว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผม” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายต้องการพักที่ไหนเล่า ข้าพเจ้าจะจัดแจงในที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นจงใจอ้างที่ไกลๆ ว่า “ท่านจงจัดแจงเสนาสนะให้พวกกระผมที่ ภูเขาคิชฌกูฏ...ที่เหวสำหรับทิ้งโจร...ที่กาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ...ที่ถ้ำสัตตบรรณ คูหาข้างภูเขาเวภาระ...ที่เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะใกล้สีตวัน...ที่ซอกเขาโคตมกะ...ที่ ซอกเขาตินทุกะ...ที่ซอกเขาตโปทกะ...ที่ตโปทาราม...ที่ชีวกัมพวัน...ท่านจงจัดแจง เสนาสนะ ให้พวกกระผมที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน” ท่านพระทัพพมัลลบุตรเข้าเตโชกสิณ ใช้องคุลีส่องแสงสว่างเดินนำหน้าภิกษุ เหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเดินตามพระทัพพมัลลบุตรไปด้วยแสงสว่างนั้น ท่านได้จัด แจงเสนาสนะสำหรับภิกษุเหล่านั้น ชี้แจงว่า “นี่เตียง นี่ตั่ง นี่ฟูก นี่หมอน นี่ที่ถ่าย อุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้ นี่ไม้เท้า นี่ระเบียบกติกาสงฆ์ ควรเข้า เวลานี้ ควรออกเวลานี้” ครั้นจัดแจงเสร็จแล้วจึงกลับมาพระเวฬุวันวิหารตามเดิม
เรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๑๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

                                                                 ๘. ปฐมทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
[๓๘๓] ก็สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระบวชใหม่และมี บุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว อาหารก็ชั้นเลว ตกถึงท่านทั้งสอง ชาวกรุง ราชคฤห์ต้องการจะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระทั้งหลายก็ถวายเนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง แกงอ่อมบ้าง จัดปรุงพิเศษ แต่พวกเขาถวายอาหารธรรมดาแก่พระเมตติยะและ พระภุมมชกะ ตามแต่จะหาได้ คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง วันหนึ่ง ท่านทั้งสองกลับจากบิณฑบาตหลังจากฉันเสร็จแล้ว เที่ยวถามภิกษุ เถระว่า “มีอาหารอะไรบ้าง ในโรงฉันสำหรับพวกท่าน” พระเถระบางพวกตอบว่า “คุณทั้งสอง พวกเรามีเนยใส น้ำมัน แกงอ่อม” พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กล่าวว่า “พวกกระผมไม่มีอะไรเลย ขอรับ มี แต่อาหารธรรมดา ตามแต่จะหาได้ คือปลายข้าวกับน้ำผักดอง” สมัยต่อมา คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถวายอาหารแก่สงฆ์วันละ ๔ ที่ เป็นนิตยภัต คหบดีพร้อมบุตรภรรยาอังคาส๑- อยู่ใกล้ๆ ในโรงฉัน คนอื่นๆ ถาม ถึงความต้องการข้าวสุก ถามถึงความต้องการกับข้าว ถามถึงความต้องการน้ำมัน ถามถึงความต้องการแกงอ่อม วันต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้เป็นภัตตุทเทสก์นิมนต์พระเมตติยะและ พระภุมมชกะไปฉันภัตตาหารของคหบดีในวันรุ่งขึ้น วันเดียวกันนั้น คหบดีเดินทางไป อารามด้วยธุระบางอย่าง ได้เข้าไปหาท่านพระทัพพมัลลบุตรถึงสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ ไหว้ท่านพระทัพพมัลลบุตรแล้ว นั่งลง ณ ที่สมควร ท่านทัพพมัลลบุตร ชี้แจงคหบดี ผู้ชอบถวายอาหารอย่างดีให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นแล้ว คหบดีผู้ชอบถวายอาหารอย่างดี ถามว่า “ภัตตาหารที่จะถวายในวันพรุ่งนี้ที่เรือนของข้าพเจ้า ท่านนิมนต์ภิกษุรูปไหน ไปฉันขอรับ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรตอบว่า “อาตมาจัดให้พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ไปฉัน” @เชิงอรรถ : @ “อังคาส” หมายถึงประเคน หรือถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๑๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๑๒-๔๑๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=1&page=412&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=11586 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=1&A=11586#p412 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_1 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1 https://84000.org/tipitaka/english/?index_1



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๒-๔๑๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]