ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

หน้าที่ ๓๙-๔๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก

พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก
[๖๙] ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงทราบคำอาราธนาของท้าวมหาพรหม และทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ ได้ทรงตรวจดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ๑- เมื่อทรง ตรวจโลกด้วยพระพุทธจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง ผู้มีธุลี ในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า๒- ผู้มีอินทรีย์อ่อน ผู้มีอาการดี๓- ผู้มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย สอนให้รู้ได้ยาก ควรสั่งสอน ไม่ควรสั่งสอน บางพวกมักเห็น ปรโลกและโทษ๔- ว่าน่ากลัว บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่เสมอน้ำ ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกที่เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่พ้นน้ำ ไม่แตะน้ำ ฉันใด พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงตรวจดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ครั้นทรงตรวจโลกด้วย พระพุทธจักษุได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง ผู้มีธุลีในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม สอนให้รู้ได้ง่าย @เชิงอรรถ : @ พระพุทธจักษุ หมายถึงอินทริยปโรปริยัติญาณ คือปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ @ทั้งหลาย คือ รู้ว่า สัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย @มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ และอาสยานุสยญาณ คือปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัย ความมุ่งหมาย สภาพจิต @ที่นอนอยู่ (ขุ.ป. (แปล) ๓๑/๑๑๑/๑๗๒-๑๗๓, ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ มีอินทรีย์แก่กล้า หมายถึงมีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์ คือ (๑) สัทธา (ความเชื่อ) (๒) วิริยะ (ความเพียร) @(๓) สติ (ความระลึกได้) (๔) สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น) (๕) ปัญญา (ความรู้ทั่ว) (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ มีอาการดี หมายถึงมีความโน้มเอียงไปในทางดี เช่น มีศรัทธา เป็นต้น ส่วนอาการทรามมีลักษณะตรงข้าม @(ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) @ โทษ ในที่นี้ ได้แก่ กิเลส ทุจริต อภิสังขาร และกรรมนำไปเกิดในภพ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๓๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๑. มหาปทานสูตร]

                                                                 พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลก

สอนให้รู้ได้ยาก ควรสั่งสอน ไม่ควรสั่งสอน บางพวกเห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว บางพวกไม่เห็นปรโลกและโทษว่าน่ากลัว๑- ฉันนั้น [๗๐] ครั้งนั้น ท้าวมหาพรหมทราบพระรำพึงของพระวิปัสสีพุทธเจ้าด้วยใจ จึงได้กราบทูลด้วยคาถาทั้งหลายว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระสมันตจักขุ๒- บุรุษผู้ยืนบนยอดภูเขาศิลาล้วน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ แม้ฉันใด พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม๓- จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก และถูกชาติชราครอบงำ ได้ชัดเจน ฉันนั้น๔- ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ผู้ชนะสงคราม๕- ผู้นำหมู่๖- ผู้ไม่มีหนี๗- @เชิงอรรถ : @ นอกจากบัวจมอยู่ใต้น้ำ บัวอยู่เสมอน้ำ บัวพ้นน้ำ ๓ เหล่านี้ อรรถกถาได้กล่าวถึงบัวเหล่าที่ ๔ คือบัวที่มี @โรคยังไม่พ้นน้ำ เป็นอาหารของปลาและเต่า ซึ่งมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แล้วแบ่งบุคคลเป็น ๔ เหล่า (ตามที่ปรากฏใน @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗ คือ (๑) อุคฆฏิตัญญู @(๒) วิปจิตัญญู (๓) เนยยะ (๔) ปทปรมะ แล้วเปรียบอุคฆฏิตัญญู เป็นเหมือนบัวพ้นน้ำ ที่พอต้องแสง @อาทิตย์แล้วก็บานในวันนี้ เปรียบวิปจิตัญญู เป็นเหมือนบัวอยู่เสมอน้ำที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเนยยะ @เป็นเหมือนบัวจมอยู่ในน้ำที่จะขึ้นมาบานในวันที่ ๓ ส่วนปทปรมะ เปรียบเหมือนบัวที่มีโรค ยังไม่พ้นน้ำ @ไม่มีโอกาสขึ้นมาบาน เป็นอาหารของปลาและเต่า @พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุอันเป็นเหมือนกออุบลเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงว่า @หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตาเบาบาง มีประมาณเท่านี้ หมู่ประชาผู้มีธุลีในดวงตามากมีประมาณเท่านี้ และใน @หมู่ประชาทั้ง ๒ นั้น อุคฆฏิตัญญูบุคคลมีประมาณเท่านี้ (ที.ม.อ. ๖๙/๖๕, สารตฺถ. ฏีกา ๓/๙/๑๙๒-๑๙๓) @ พระสมันตจักขุ หมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) @(ที.ม.อ. ๗๐/๖๖) @ ปราสาทคือธรรม ในที่นี้หมายถึงปัญญา หรือโลกุตตรธรรม (ที.ม.อ. ๗๐/๖๖, ที.ม.ฏีกา. ๗๐/๘๐) @ ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๐ @ ชนะสงคราม หมายถึงชนะเทวปุตตมาร (มารคือเทพบุตร) มัจจุมาร (มารคือความตาย) และกิเลสมาร @(มารคือกิเลส) ได้แล้ว (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) @ ผู้นำหมู่ หมายถึงสามารถนำเวไนยสัตว์ข้ามทางกันดารคือชาติเป็นต้นได้ (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) @ หนี้ ในที่นี้หมายถึงกามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (ที.ม.อ. ๗๐/๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๔๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๙-๔๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=39&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=1117 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=10&A=1117#p39 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 10 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_10 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10 https://84000.org/tipitaka/english/?index_10



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙-๔๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]