ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

                                                                 ปัญหาพยากรณ์

๗. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะชัง ๘. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะหลง ๙. ภิกษุขีณาสพไม่อาจลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้น เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่อาจประพฤติละเมิดฐานะ ๙ ประการนี้แล๑-
ปัญหาพยากรณ์
[๑๘๗] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ปรารภอดีตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้ แต่หาได้ปรารภอนาคตกาลยาวนานแล้วบัญญัติญาณทัสสนะอันไม่มีขอบเขตไว้ไม่ ทำไมจึงกล่าวอย่างนั้น กล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร’ อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น เข้าใจญาณทัสสนะที่มีความหมายอย่างหนึ่งว่า ทรงบัญญัติรวมเข้ากับญาณทัสสนะ ที่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งเหมือนคนโง่ ไม่เฉียบแหลมฉะนั้น ตถาคตมีสตานุสาริ- ญาณ๒- ปรารภอดีตกาลยาวนานได้ คือ ตถาคตระลึกได้ตลอดขอบเขตเท่าที่ประสงค์ และตถาคตมีญาณ๓- ที่เกิดจากการตรัสรู้ ปรารภอนาคตกาลยาวนานได้ว่า ‘ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก’ แม้ถ้าเรื่องอดีต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็น เรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอดีตนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๗/๔๔๖ @ สตานุสาริญาณ ในที่นี้หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ความหยั่งรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้) @(ที.ปา.อ. ๑๘๗/๑๐๓) @ ญาณ หมายถึงมรรคญาณ ๔ คือ (๑) โสตาปัตติมรรค (๒) สกทาคามิมรรค (๓) อนาคามิมรรค @(๔) อรหัตตมรรค (ที.ปา.อ. ๑๘๗/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

                                                                 ปัญหาพยากรณ์

ถ้าแม้เรื่องอดีต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้นตถาคต ก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องอนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง อนาคตนั้น ถ้าแม้เรื่องอนาคต เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่อง นั้นตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่องปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่อง ปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์เรื่อง ปัจจุบันนั้น ถ้าแม้เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องจริง แท้ ทั้งประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น ตถาคตก็รู้จักกาลที่จะพยากรณ์ปัญหานั้น [๑๘๘] จุนทะ ด้วยเหตุนี้ เพราะตถาคตเป็นกาลวาที๑- ภูตวาที๒- อัตถวาที๓- ธัมมวาที๔- วินยวาที๕- ในธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฉะนั้น ชาวโลก จึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้รูปที่ได้เห็น๖- เสียงที่ได้ฟัง๗- อารมณ์ที่ได้ทราบ๘- ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้ง๙- ที่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้ง @เชิงอรรถ : @ กาลวาที หมายถึงตรัสในเวลาเหมาะสม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ภูตวาที หมายถึงตรัสสภาวะที่เป็นจริง (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ อัตถวาที หมายถึงตรัสปรมัตถนิพพาน (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ ธัมมวาที หมายถึงตรัสถึงมรรคธรรมและผลธรรม (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ วินยวาที หมายถึงตรัสถึงวินัยที่มีการสำรวมเป็นต้น (ขุ.จู.อ. ๘๓/๖๔) @ รูปที่ได้เห็น หมายถึงรูปายตนะ (อายตนะคือรูป) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ เสียงที่ได้ฟัง หมายถึงสัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ อารมณ์ที่ได้ทราบ หมายถึงคันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) รสายตนะ (อายตนะคือรส) โผฏฐัพพายตนะ @(อายตนะคือโผฏฐัพพะ) เพราะเป็นสภาวะที่บุคคลถึงแล้วจึงกำหนดได้ (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) @ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง หมายถึงธรรมารมณ์มีสุขและทุกข์เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๑๘๘/๑๐๔, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๖. ปาสาทิกสูตร]

                                                                 เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ บรรลุ แสวงหา ตรองตามด้วยใจทั้งหมด ฉะนั้น ชาว โลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ในระหว่างนี้ ย่อมภาษิต กล่าว แสดงคำใด คำนั้นทั้งหมดเป็นจริงอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตกล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ตถาคต กล่าวอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ทำอย่างใดก็กล่าวอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’ เพราะตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นถ่องแท้ เผยแผ่อำนาจไปใน โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น ชาวโลกจึงเรียกว่า ‘ตถาคต’
เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์
[๑๘๙] จุนทะ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก ตายแล้ว ตถาคต๑- เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลาย พึงกล่าวอย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ ทรงพยากรณ์ไว้แม้อย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ เป็นไปได้ที่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง กระนั้นหรือ’ เธอทั้งหลายพึงกล่าว อย่างนี้กับอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้นว่า ‘พระผู้มีพระภาคมิได้ทรง @เชิงอรรถ : @ ตถาคต เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า @อรรถกถาอธิบายว่า สัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=145&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=4192 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=4192#p145 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔๕-๑๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]