ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๗. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส ดังนี้ว่า [๑๙๙] “ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ๑- ประการ มีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์ โดยธรรม ทรงเป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้รับชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ (๑) จักรแก้ว (๒) ช้างแก้ว (๓) ม้าแก้ว (๔) มณีแก้ว (๕) นางแก้ว (๖) คหบดีแก้ว (๗) ปริณายกแก้ว มีพระราชโอรส มากกว่า ๑,๐๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีร- กษัตริย์ สามารถย่ำยีราชศัตรูได้ พระองค์ทรงชนะโดยธรรม ไม่ต้อง ใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบเขต ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก [๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ อะไรบ้าง จึงมีคติ ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๔-๓๕/๑๖-๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

คือ มหาบุรุษในโลกนี้ ๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระบาทราบเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของมหาบุรุษ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้นฝ่าพระบาท ทั้งสองของมหาบุรุษมีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และ มีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่มหาบุรุษมีส้นพระบาทยื่นยาวออกไปนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๔. มีพระองคุลียาว ข้อที่มหาบุรุษมีพระองคุลียาวนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษ ๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่มหาบุรุษมีพระหัตถ์และพระ บาทอ่อนนุ่มนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย ข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกัน เป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๗. มีข้อพระบาทสูง ข้อที่มหาบุรุษมีข้อพระบาทสูงนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษ ของมหาบุรุษ ๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ข้อที่มหาบุรุษมีพระชงฆ์เรียวดุจแข้ง เนื้อทรายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วย ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ข้อที่มหาบุรุษเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อมพระองค์ ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้นี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๐. มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก ข้อที่มหาบุรุษมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝักนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๑๑. มีพระฉวีสีทอง คือคล้ายทองคำ ข้อที่มหาบุรุษมีพระฉวีสีทอง คือ คล้ายทองคำนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๒. มีพระฉวีละเอียด จนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้ ข้อที่มหา- บุรุษมีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้นี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว ข้อที่มหาบุรุษ มีพระโลมชาติเดี่ยว คือ ในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียวนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดัง กุณฑลสีครามเข้มดังดอกอัญชัน ข้อที่มหาบุรุษมีพระโลมชาติปลาย งอนขึ้น คือพระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวาดังกุณฑลสีครามเข้ม ดังดอกอัญชันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม ข้อที่มหาบุรุษมีพระวรกายตั้งตรง ดุจกายพรหมนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์ ข้อที่มหาบุรุษมีพระมังสะใน ที่ ๗ แห่งเต็มบริบูรณ์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ ข้อที่ มหาบุรุษมีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน ข้อที่มหาบุรุษมีร่องพระปฤษฎางค์ เต็มเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระ วรกาย ข้อที่มหาบุรุษมีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่ง ต้นไทร พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วาของพระองค์ ๑ วาของพระองค์ เท่ากับส่วนสูงพระวรกายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ

๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด ข้อที่มหาบุรุษมีลำพระศอกลมเท่ากัน ตลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี ข้อที่มหาบุรุษมีเส้นประสาท รับรสพระกระยาหารได้ดีนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ข้อที่มหาบุรุษมีพระหนุดุจคางราชสีห์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ข้อที่มหาบุรุษมีพระทนต์ ๔๐ ซี่นี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ข้อที่มหาบุรุษมีพระทนต์เรียบเสมอกันนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ข้อที่มหาบุรุษมีพระทนต์ไม่ห่างกันนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม ข้อที่มหาบุรุษมีพระเขี้ยวแก้วขาวงามนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว ข้อที่มหาบุรุษมีพระชิวหาใหญ่ยาวนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก ข้อที่ มหาบุรุษมีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวกนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๒๙. มีดวงพระเนตรดำสนิท ข้อที่มหาบุรุษมีดวงพระเนตรดำสนิทนี้ เป็น ลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ข้อที่มหาบุรุษมีดวง พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอดนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของ มหาบุรุษ ๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น ข้อที่มหาบุรุษ มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่นนี้ เป็นลักษณะ มหาบุรุษของมหาบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๖๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๗. ลักขณสูตร]

                                                                 ๑. ลักษณะฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้อที่มหาบุรุษมีพระเศียร ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ จึงมีคติเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ๑. ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ ๒. ถ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลสในโลก ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกฤๅษีภายนอก ก็อาจจำลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ ของมหาบุรุษได้ แต่ฤๅษีเหล่านั้นไม่ทราบว่า ‘เพราะมหาบุรุษทรงทำกรรมนี้จึงได้ ลักษณะนี้’
๑. ลักษณะพระบาทราบเสมอกัน
[๒๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน๑- กำเนิดก่อน๒- ตถาคตเกิดเป็น มนุษย์สมาทานในกุศลธรรม๓- สมาทานมั่นคงในกายสุจริต(ประพฤติชอบด้วยกาย) ในวจีสุจริต(ประพฤติชอบด้วยวาจา) ในมโนสุจริต(ประพฤติชอบด้วยใจ) ในการ จำแนกทาน ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถ ในความเกื้อกูลมารดา ในความเกื้อกูลบิดา ในความเกื้อกูลสมณะ ในความเกื้อกูลพราหมณ์ ในความ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรม๔- อันยิ่งอื่นๆ อีก เพราะ ตถาคตได้ทำ สั่งสม พอกพูนกรรมนั้น ทำกรรมนั้นให้ไพบูลย์แล้ว หลังจากตายแล้ว ตถาคตจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครอบงำเทพเหล่าอื่นในเทวโลกนั้นด้วยฐานะ ๑๐ @เชิงอรรถ : @ ชาติก่อน ภพก่อน หมายถึงชาติที่เคยเกิดมาก่อน (ที.ปา.อ. ๒๐๑/๑๐๘) @ กำเนิดก่อน หมายถึงที่อยู่อาศัยในชาติก่อน (ที.ปา.อ. ๒๐๑/๑๐๘) @ กุศลธรรม หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ที.ปา.อ. ๒๐๑/๑๐๙) @ กุศลธรรมอันยิ่ง มีความหมายต่อไปนี้ คือ (๑) กามาวจรกุศล (๒) รูปาวจรกุศล (๓) อรูปาวจรกุศล @(๔) สาวกบารมีญาณ (๕) ปัจเจกโพธิญาณ (๖) สัพพัญญุตญาณ ในที่นี้หมายถึงสัพพัญญุตญาณ @(ที.ปา.อ. ๒๐๑/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๑๖๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=159&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=4598 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=4598#p159 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]