ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๗

๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
พละ๑- ๗ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) ๕. สติพละ (กำลังคือสติ) ๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๑๐
[๓๓๒] วิญญาณฐิติ๒- (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๓- และวินิปาติกะบางพวก๔- นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๓/๔ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒-๗๓ @ เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ @(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙) @ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ @อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน @คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ @ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก @ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น @การบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๗

๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา๑- (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๒- โดยกำหนดว่า “อากาศ หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๓- โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน๔- โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๗ @เชิงอรรถ : @ เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา @(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว @มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐) @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น @ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ @อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก @อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต- @นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=335&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9532 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=9532#p335 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๕-๓๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]