ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๓๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

                                                                 สังคีติหมวด ๗

๑๓
สังโยชน์๑- (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ๑. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี๒-) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย) ๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว) ๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)
๑๔
อธิกรณสมถธรรม๓- (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๔- ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย๕- ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย๖- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘/๑๔ @ ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐) @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘๔/๑๗๙ @ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๕/๓๓๐-๓๓๒ @๕-๖ สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อม คือ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์ @ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี @หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย @(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย @สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์ @เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์ @ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๙๕-๓๒๘, @วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=338&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9627 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=9627#p338 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]