ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๓ ประการ

ธรรม ๓ ประการ
[๓๕๓] ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๓ ประการที่ควรละ ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๓ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๓ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๓ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๓ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ ๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ) ๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังพระสัทธรรม) ๓. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)๑- นี้ คือธรรม ๓ ประการที่มีอุปการะมาก (ข) ธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ สมาธิ๒- ๓ ได้แก่ ๑. สมาธิที่มีทั้งวิตก และมีวิจาร ๒. สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร ๓. สมาธิที่ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ เวทนา๓- ๓ ได้แก่ ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๑๑ หน้า ๒๘๖ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๖๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๗๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๓ ประการ

๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข) นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๓ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ ตัณหา๑- ๓ ได้แก่ ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ) นี้ คือธรรม ๓ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อกุศลมูล๒- ๓ ได้แก่ ๑. อกุศลมูลคือโลภะ (ความอยากได้) ๒. อกุศลมูลคือโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ๓. อกุศลมูลคือโมหะ (ความหลง) นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ กุศลมูล๓- ๓ ได้แก่ ๑. กุศลมูลคืออโลภะ (ความไม่อยากได้) ๒. กุศลมูลคืออโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) ๓. กุศลมูลคืออโมหะ (ความไม่หลง) นี้ คือธรรม ๓ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๖๔ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๕๙ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๐๕ หน้า ๒๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๗๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=372&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=10651 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=10651#p372 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๒-๓๗๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]