ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๔๐๔-๔๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ ประการ
[๓๕๘] ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๘ ประการที่ควรละ ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ คืออะไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อได้ อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๒. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม- จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๓. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น ๒ ประการคือ (๑) ความสงบเย็นทางกาย (๒) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น เหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก- ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง ปัญญาที่ได้แล้ว ๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์๑- เพียบพร้อม ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๔ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม- จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อได้อาทิ- พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ=ความหลุดพ้น) @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๖. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๖ เป็นไปเพื่อได้ อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๗. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยประการที่ ๗ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา ที่ได้แล้ว ๘. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๘ เป็นไป เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว นี้ คือธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

(ข) ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์๑- ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ โลกธรรม๒- ๘ ได้แก่ ๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๘ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ มิจฉัตตธรรม๓- (ธรรมที่ผิด) ๘ ได้แก่ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๗ หน้า ๓๔๘ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ กุสีตวัตถุ๑- (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความ เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้อง เดินทาง เมื่อเราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๔ หน้า ๓๔๑-๓๔๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้ โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กาย ของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วราชมาส ชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด มีอาพาธขึ้นเล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน มีข้ออ้างที่จะนอนได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน‘เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ ประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ อารัมภวัตถุ๑- (เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุในพระในธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้น เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว เมื่อเราทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระ พุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความ เพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง‘เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุ ประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๕ หน้า ๓๔๓-๓๔๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่เราเดินทางอยู่ จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ ที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้เดินทางแล้ว เมื่อเดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ ที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของ เรานั้นเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกาย ของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด มีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรง ขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็น ไปได้ที่อาพาธของเราจะกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึง ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑- ได้แก่ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และทรงแสดงธรรม๒- ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔-๒๗๖ @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงนรก นี้เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงเทพนิกาย๑- ที่มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ๕. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผ่านไปมา นี้ก็ เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๖. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นมิจฉา- ทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี และทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลกนี้’ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ๗. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมี ปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑- ไม่สามารถจะรู้เนื้อความ แห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ๘. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะ กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็น คนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็ เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก @เชิงอรรถ : @ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายไขความว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี @น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้บ้าง พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/๒๒๓) @แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษาที่จะพูด @(วตฺตุ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) ท่านแยกอธิบายไว้ว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) มูโค @หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา : ฏีกา คาถา ๗๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

(ช) ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ ความตรึกของมหาบุรุษ ๘ ได้แก่ ๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก ๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีใน การคลุกคลี ๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้เกียจคร้าน ๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงสติ ๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจ ไม่ตั้งมั่น ๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มี ปัญญาทราม ๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑- ผู้พอใจใน นิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ อภิภายตนะ๒- ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาด เล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาด ใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่าง นี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ นิปปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง คือ มานะ ตัณหา และทิฏฐิ @(ที.ปา.อ. ๓๕๘/๒๖๔) @ ดูเทียบข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๘-๓๕๐ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๓/๑๒๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบ เหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี เขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมี เนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มี สัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบ เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วย ของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญา ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือน ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดง เข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือน ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาว เข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสี ขาวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ วิโมกข์๑- ๘ ได้แก่ ๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๙ หน้า ๓๕๐-๓๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๘๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๙ ประการ
[๓๕๙] ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๙ ประการที่ควรละ ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ ได้แก่ ๑. บุคคลมนสิการโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ๒. เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๔๐๔-๔๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=404&pages=15&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=11622 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=11622#p404 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๐๔-๔๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]