ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๔๑๗-๔๑๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือน ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดง เข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือน ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาว เข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสี ขาวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ วิโมกข์๑- ๘ ได้แก่ ๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๙ หน้า ๓๕๐-๓๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๘ ประการ

๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๘๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๙ ประการ
[๓๕๙] ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๙ ประการที่ควรละ ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ ได้แก่ ๑. บุคคลมนสิการโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ๒. เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๔๑๗-๔๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=417&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=12013 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=12013#p417 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๗-๔๑๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]