ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๖๘-๔๖๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้แม้ขมวดผมอยู่ ก็ยังมี อภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมารยา มีความ ปรารถนาที่เป็นบาป มีความเห็นผิด ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมี ความเป็นสมณะด้วยอาการเพียงการขมวดผม
ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ
[๔๓๘] ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีอภิชฌามากก็ละอภิชฌาได้ มีจิตพยาบาทก็ละพยาบาทได้ มีความมักโกรธก็ละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธก็ละความผูกโกรธได้ มีความ ลบหลู่ก็ละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอก็ละความตีเสมอได้ มีความริษยาก็ละความ ริษยาได้ มีความตระหนี่ก็ละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็ละความโอ้อวดได้ มี มารยาก็ละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็ละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิดก็ละความเห็นผิดได้ เพราะละกิเลสที่เป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดุจ น้ำฝาดของสมณะ เป็นเหตุให้เกิดในอบาย และมีวิบากที่ตนจะพึงเสวยในทุคติ เหล่านี้ได้ เราจึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนั้นเป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ’ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้วจากบาปอกุศลธรรมทั้งปวงนี้ เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้วจากบาปอกุศลธรรมทั้งปวงนี้ ความ ปราโมทย์จึงเกิด เมื่อมีความปราโมทย์ปีติจึงเกิด เมื่อใจมีปีติกายจึงสงบ เมื่อมี กายสงบเธอจึงเสวยสุข เมื่อเธอมีสุขจิตจึงตั้งมั่น เธอมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๖๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

                                                                 ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร

เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุทั้งหลาย สระโบกขรณี มีน้ำใสบริสุทธิ์ เย็นสะอาด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาจากทิศตะวันออก ถูกความร้อนแผดเผา ร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้วก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความ กระวนกระวายเพราะความร้อนได้ ถ้าบุรุษมาจากทิศตะวันตก ... ถ้าบุรุษมาจาก ทิศเหนือ ... ถ้าบุรุษมาจากทิศใต้ ... ถ้าบุรุษจะมาจากที่ไหนๆ ก็ตามถูกความร้อน แผดเผา ร้อน ลำบาก กระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำและความกระวนกระวายเพราะความร้อนได้ แม้ฉันใด ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึงธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้วเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ ความสงบระงับในภายใน เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ สมณะ’ เพราะความสงบระงับในภายในนั้น ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ... ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลศูทร ... ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลไหนๆ ก็ตามมาบวชเป็นบรรพชิต เธอมาถึง ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาอย่างนั้น ได้ความสงบระงับในภายใน เรากล่าวว่า ‘เป็นผู้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ สมณะ’ เพราะความสงบระงับในภายในนั้น ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์มาบวชเป็นบรรพชิต เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ในปัจจุบัน กุลบุตรนี้ชื่อว่าสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป’ ถ้ากุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๖๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๖๘-๔๖๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=12&page=468&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=13405 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=12&A=13405#p468 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_12 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 https://84000.org/tipitaka/english/?index_12



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๘-๔๖๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]