ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๑๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะ๑- อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเรา เดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ ท่านผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มีปกติเห็นธรรม ทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ เป็นผู้กล่าวตาม พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่จริง และชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมา จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณโคดม เป็นสัพพัญญู’ มีปกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสสนะอย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดินอยู่ หยุดอยู่ หลับอยู่ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะจะปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’ ยังกล่าวไม่ตรงกับคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่เป็นจริง ไม่มีจริง”
วิชชา ๓
[๑๘๖] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะอธิบายอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จและชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลละหรือ อนึ่ง ไม่มี บ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ บุคคลผู้อธิบายว่า ‘พระสมณโคดมเป็น ผู้มีวิชชา๒- ๓’ ชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ @เชิงอรรถ : @ ญาณทัสสนะ หมายถึงความรู้และความเห็นตรงตามความเป็นจริง อาจเรียก มรรคญาณ ผลญาณ @สัพพัญญุตญาณ ปัจจเวกขณญาณ หรือวิปัสสนาญาณก็ได้ (ที.สี.อ. ๑/๒๓๔/๑๙๘) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๐ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๑๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๑๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=216&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=6020 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=6020#p216 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๑๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]