ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๙๔-๒๙๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๖. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ๗. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ) เพราะเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ ๓. เจริญสัมมาวาจา ๔. เจริญสัมมากัมมันตะ ๕. เจริญสัมมาอาชีวะ ๖. เจริญสัมมาวายามะ ๗. เจริญสัมมาสติ ๘. เจริญสัมมาสมาธิ เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ [๒๔๘] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) ๘ ประการ๑- คือ ๑. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๒ ๓. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๔/๑๒๒, ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๐, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๖/๓๖๘-๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๓. ปริพพาชกวรรค]

                                                                 ๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๕. สาวกล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖ ๗. สาวกล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. สาวกล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ เพราะเจริญวิโมกข์ ๘ ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่ [๒๔๙] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญอภิภายตนะ๑- ๘ ประการ คือ ๑. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๒- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. สาวกผู้หนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ญาณหรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำนี้มาจาก อภิภู+อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ และชื่อว่า อายตนะ @เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย เพราะเป็นมนายตนะและธัมมายตนะ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒, ที.ม.อ. ๒/๑๗๓/๑๖๔, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงจำได้หมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายในที่ยังไม่ถึงอัปปนา @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ม.ม.อ. ๒/๒๔๙/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๙๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๙๔-๒๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=294&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=8267 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=8267#p294 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๔-๒๙๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]