ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดงหน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๓๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

                                                                 ๓. เสขปฏิปทาสูตร

ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม นี้เป็นการทำลายกิเลสด้วยญาณข้อที่ ๒ ของพระ อริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๒) เจ้ามหานามะ พระอริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ที่ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นการทำลายกิเลส ด้วยญาณข้อที่ ๓ ของพระอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่ออกจากเปลือกไข่ได้ ฉะนั้น (๓)
ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
[๒๙] เจ้ามหานามะ การที่พระอริยสาวกเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแม้นี้ ก็เป็น จรณะ๓- ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแม้นี้ ก็เป็นจรณะ ของพระอริยสาวกประการหนึ่ง การที่พระอริยสาวกเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคแม้นี้ ก็เป็นจรณะของ พระอริยสาวกประการหนึ่ง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ(ที่เป็นปฏิ- @ปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔)ในที่นี้หมายถึง @ความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ที่ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา(ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ @ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน @(ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ จรณะ หมายถึงธรรมเป็นเครื่องประพฤติของภิกษุผู้มีศีล เช่น จรณะ ๑๕ ประการมีศีลเป็นต้น แต่ในที่นี้ @หมายถึงการไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป (หรือการบรรลุธรรมที่ยังไม่เคยบรรลุ) (ม.ม.อ. ๒/๒๙/๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๓๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๓๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=32&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=896 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=896#p32 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]