ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

                                                                 ๙. ธัมมเจติยสูตร

คนทั้งหลายก็ยังพูดแทรกขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน แต่หม่อมฉันได้ เห็นภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ บริษัทหลายร้อย สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค ก็ไม่มีเสียงไอหรือเสียงจามเลย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระผู้มีพระภาครูปหนึ่งได้ไอขึ้น เพื่อนพรหมจารีรูปหนึ่งได้ใช้เข่าสะกิดเธอ ด้วยความประสงค์ให้เธอรู้สึกตัวได้ว่า ‘ท่านจงเงียบ อย่าทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่’ หม่อมฉันนั้นได้ดำริว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำบริษัทอย่างดีเช่นนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้อง ใช้ศัสตราเลย’ หม่อมฉันไม่เห็นบริษัทอื่นที่ได้รับการแนะนำอย่างดีเช่นนี้ นอกจาก บริษัทนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรม ในพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ [๓๗๑] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นกษัตริย์ ผู้เป็นบัณฑิตบางพวก ในโลกนี้ มีปัญญาละเอียดอ่อน โต้วาทะกับคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ กษัตริย์ เหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยวทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้ เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ กษัตริย์ เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณ- โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัส ตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดม ถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้ กับพระสมณโคดม’ กษัตริย์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้กษัตริย์เหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

                                                                 ๙. ธัมมเจติยสูตร

เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา กษัตริย์ เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ก็ไม่ทูลถามปัญหา กับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็พากันยอมตน เข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้เองที่หม่อมฉันมีความเห็นคล้อยตามธรรมของ พระผู้มีพระภาคว่า ‘พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ [๓๗๒] อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็นพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ คหบดีผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ มีปัญญาละเอียด อ่อน โต้วาทะกันคนอื่นได้ สามารถนับขนทรายได้ สมณะเหล่านั้นเหมือนดั่งเที่ยว ทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญา พอได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้น’ สมณะเหล่านั้นก็พากันแต่ง ปัญหา ด้วยตั้งใจว่า ‘เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้วอย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลาย จักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมถูกเราทั้งหลายถามแล้ว อย่างนี้ จักตรัสตอบอย่างนี้ เราทั้งหลายจักโต้วาทะอย่างนี้กับพระสมณโคดม’ สมณะเหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสมณโคดม เสด็จมาถึงบ้านหรือนิคมโน้น’ แล้วก็พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา สมณะ เหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจ ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาก็ไม่ทูลถาม ปัญหากับพระผู้มีพระภาคอีก ที่ไหนจักโต้วาทะกับพระองค์ได้เล่า โดยที่แท้ก็ขอโอกาส เพื่อออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตกับพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=455&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=12837 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=12837#p455 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]