![]() |
|||||
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |||||
![]() | |||||
![]() | |||||
|
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๔๗๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]
๑. พรหมายุสูตร
๕. พราหมณวรรค หมวดว่าด้วยพราหมณ์ ๑. พรหมายุสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อพรหมายุ [๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมกับภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา เป็นคนชรา เป็นคนแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับจนมีอายุถึง ๑๒๐ ปี นับแต่เกิด รู้จบไตรเพท๑- พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๒- เกฏุภศาสตร์๓- อักษรศาสตร์๔- และประวัติศาสตร์๕- เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์๖- และลักษณะ มหาบุรุษ๗- พรหมายุพราหมณ์ได้ฟังข่าวว่า @เชิงอรรถ : @๑ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ ๓ ข้างต้น คือ ฤคเวท(อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท(ส่วนอาถรรพเวท ปรากฏ @ภายหลังจากการปรากฏของพระสูตรนี้) (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @๒ นิฆัณฑุศาสตร์ คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา(Etymology) คลังศัพท์(Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ @(Glossary) ที่รวบรวมคำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็น @ส่วนหนึ่งของนิรุกติ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า นิฆัณฏุ @(ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @๓ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ที่ว่าด้วยกฏเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ @เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ ซึ่งเป็น ๑ ในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไกฏภ @๔ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา(การเปล่งเสียง,การออกเสียง) และนิรุตติ(การอธิบายศัพท์โดย @อาศัยประวัติและกำเนิดของคำ) (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @๕ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้ได้เป็นมาอย่างนี้ ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, @ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒ และ ดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology @(London : Routledge and Kegan Paul, 1957) p.222 @๖ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์โดยการ @อ้างทฤษฎีและประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่อย่างใด @(ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๒) @๗ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน @คัมภีร์พราหมณ์ ซึ่งเรียกว่ามนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธมนตร์ มีอยู่ @๑๖,๐๐๐ คาถา (ม.ม.อ. ๒/๓๘๓/๒๖๒, ที.สี.อ. ๑/๒๕๖/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๗๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=13&page=471&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=13298 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=13&A=13298#p471 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 13 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_13 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13 https://84000.org/tipitaka/english/?index_13
จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๗๑.
![]() | ![]() ![]() |
บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]