ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

เธอทั้งหลายจงไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้องทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีคุณอันหาประมาณมิได้ ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด”
อิสิคิลิสูตรที่ ๖ จบ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ๑- อันเป็นอริยะ๒- ที่มีอุปนิสะ๓- บ้าง มีปริขาร๔- บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ มีปริขาร เป็น อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายาม @เชิงอรรถ : @ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาธิในองค์มรรค (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ อันเป็นอริยะ หมายถึงไม่มีโทษ ได้แก่โลกุตตรธรรม (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ ที่มีอุปนิสะ หมายถึงมีเหตุปัจจัย (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ มีปริขาร หมายถึงมีองค์ประกอบ (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้ เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า๑- สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ๒- ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัดสัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็น สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ที่เซ่นสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’๓- นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค @เชิงอรรถ : @ สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๒ คือ (๑) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ที่กำหนดพิจารณา @สังขารที่เป็นไปในไตรภูมิโดยเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้น (๒) มัคคสัมมาทิฏฐิ ที่ถอนสังขารขึ้นด้วยไม่ให้เป็นไป @อีกเพื่อการกำหนดพิจารณา เพราะเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้นเกิดขึ้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ หมายความว่า รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิโดยความเป็นอารมณ์ เพราะแทงตลอดลักษณะว่า @ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วรู้ชัดสัมมาทิฏฐิ โดยความเป็นหน้าที่ เพราะไม่หลงงมงาย @(ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๗๑/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=174&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=5078 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=5078#p174 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]