ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๘. อุปักกิเลสสูตร

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จ เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพีแล้ว เสด็จกลับ จากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงเก็บงำเสนาสนะ ถือ บาตรและจีวรประทับยืนอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า [๒๓๗] “ภิกษุทั้งหลายต่างส่งเสียงดังพร้อมกัน ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น เธอทั้งหลายขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต เท้าคารมพูดได้ตามที่ตนปรารถนา จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า ‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’ เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่สงบระงับ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า ‘คนนี้ได้ด่าเรา ได้ฆ่าเรา ได้ชนะเรา และได้ลักสิ่งของของเราไป’ เวรของชนเหล่านั้นย่อมสงบระงับ เพราะว่าในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่สงบระงับด้วยเวร๑- แต่เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวร๒- นี้เป็นธรรมเก่า๓- @เชิงอรรถ : @ เวร นอกจากจะไม่สงบระงับแล้ว ยังกลับเพิ่มพูนเวรต่อกันให้มากขึ้น เปรียบเหมือนการใช้น้ำสกปรก @ชำระล้างสิ่งสกปรก ก็ยิ่งเพิ่มพูนความสกปรกมากขึ้นฉะนั้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) @ การไม่จองเวร หมายถึงธรรมคือขันติ เมตตา โยนิโสมนสิการ(การพิจารณาโดยแยบคาย) และ @ปัจจเวกขณะ (การพิจารณา) (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) @ เป็นธรรมเก่า หมายถึงเป็นทางปฏิบัติเพื่อสงบระงับเวรที่ประพฤติสืบๆ กันมาของพระพุทธเจ้า @พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๑/๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๘. อุปักกิเลสสูตร

ชนเหล่าอื่น๑- ไม่รู้ชัดว่า ‘พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ที่นี้’ ส่วนชนเหล่าใด๒- ในหมู่นั้น รู้ชัดความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น ชนทั้งหลายบั่นกระดูกฆ่ากัน ลักทรัพย์คือโคและม้า ช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก ไฉนเธอทั้งหลายจึงคบหากันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตนเที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๓- เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเถิด เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแคว้นที่ทรงชนะแล้ว ทรงประพฤติอยู่ผู้เดียว และเหมือนช้างมาตังคะละทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวเป็นความประเสริฐ เพราะคุณเครื่องความเป็นสหาย๔- ไม่มีในคนพาล @เชิงอรรถ : @ ชนเหล่าอื่น หมายถึงคนที่สร้างความแตกแยกในหมู่นั้น ซึ่งไม่ใช่บัณฑิต (ม.อุ.อ. ๓/๒๓๗/๑๔๙, @ขุ.ธ.อ. ๑/๖๐) @ ชนเหล่าใด หมายถึงบัณฑิต (ม.อุ.อ. ๓/๒๓๗/๑๔๙, ขุ.ธ.อ. ๑/๖๐) และดูเทียบ @ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๖/๒๕ @ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรม ๔ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ @และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ (ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑/๔๓๓) @ คุณเครื่องความเป็นสหาย หมายถึงคุณธรรมเหล่านี้ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ @ธุดงค์คุณ ๑๓ วิปัสสนาญาณ มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อมตมหานิพพาน @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๗๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๘. อุปักกิเลสสูตร

อนึ่ง บุคคลควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้เดียวไม่พึงทำความชั่ว เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปตัวเดียวในป่า”๑- [๒๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับยืนตรัสพระคาถาเหล่านี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไป ยังบ้านพาลกโลณการคาม สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่บ้านพาลกโลณการคาม ได้เห็นพระผู้มี พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ทรงล้างพระบาท ฝ่ายท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอ เป็นอยู่ได้หรือ ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ” ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ยังสบายดี ยังพอเป็นอยู่ได้ ไม่ลำบาก ด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน๒- สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ พักอยู่ ที่ป่าปาจีนวังสทายวัน นายทายบาล(ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านอย่าเข้าไปในป่านี้เลย ในป่านี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้มุ่งประโยชน์ตนอยู่ ท่านอย่าได้รบกวนกุลบุตรทั้ง ๓ นั้นเลย” ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า “นายทายบาล ท่าน อย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย เสด็จมาถึงแล้ว” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๔/๓๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๓๑-๑๓๒/๔๓๓-๔๓๔, @ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๓๒๘-๓๓๐/๑๓๕-๑๓๖, ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๑๗-๑๙/๓๐๓ @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๕๗-๔๖๔/๓๔๑-๔๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๘๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=278&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=8149 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=8149#p278 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]