ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดงหน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๑๘-๔๒๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ๒. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. การบอก การแสดง การบัญญัติ การกำหนด การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ [๓๗๓] ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) เป็นอย่างไร คือ ชาติ เป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะ เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์๑- ชาติ เป็นอย่างไร คือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชาติ๒- ชรา เป็นอย่างไร คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๔/๒๑, ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๑/๘๖ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๓๘๗/๓๒๔, ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๓/๘๘, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๔ @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๒/๘๗, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๔, ๒๗/๕๒-๕๓, ๒๘/๕๔-๕๕, ๓๓/๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๑๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

มรณะ เป็นอย่างไร คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป จากหมู่สัตว์นั้นๆ ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือมฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ๑- โสกะ เป็นอย่างไร คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า โสกะ๒- ปริเทวะ เป็นอย่างไร คือ ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะ ที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่ำครวญ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า ปริเทวะ๓- ทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากกายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกข์๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๙๒/๘๘, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒/๔, ๒๗/๕๒-๕๓, ๒๘/๕๔-๕๕, ๓๓/๗๐, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๑/๑๕๐ @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๔/๑๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๑/๑๒๖ @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๔๔/๑๕๕, ๙๗/๒๙๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๑/๑๒๖ @ ดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๕๕๙/๑๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๑๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โทมนัส เป็นอย่างไร คือ ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อันเกิดจากมโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัส๑- อุปายาส เป็นอย่างไร คือ ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ) ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใด อย่างหนึ่งกระทบ นี้เรียกว่า อุปายาส การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ หมู่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดไม่พึงมาถึง เราทั้งหลาย แต่ความปรารถนานี้ไม่พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ หมู่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา .... หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... หมู่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ... หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอ เราทั้งหลายจึงจักไม่มีความเศร้าโศรก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นเป็นธรรมดา ขอความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นไม่พึงมาถึงเราทั้งหลาย’ แต่ความปรารถนานี้ไม่ พึงสำเร็จได้ตามความปรารถนา นี้เรียกว่าการไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เป็นทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.สงฺ. (แปล) ๓๔/๔๑๗/๑๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๑. สัจจวิภังคสูตร

โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) เหล่านี้เรียกโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ [๓๗๔] ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) เป็นอย่างไร คือ ตัณหานี้เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เป็นเหตุ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา๑- นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) เป็นอย่างไร คือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความสละคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
อริยมรรคมีองค์ ๘
[๓๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ทุกข์) เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๔/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๒๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๑๘-๔๒๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=418&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=12276 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=12276#p418 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๑๘-๔๒๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]