ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๕๙-๖๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๔. สามคามสูตร

ลำดับนั้น ภิกษุผู้ฉลาดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นฝ่ายเดียวกันกับภิกษุอีก ฝ่ายหนึ่ง พึงลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีแล้วประกาศให้ สงฆ์ทราบว่า ‘ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กรรมอันไม่สมควรแก่ สมณะเป็นอันมาก ที่เราทั้งหลายในที่นี้ผู้เกิดการบาดหมาง เกิดการทะเลาะ ถึงการ วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงละเมิด ได้พูดล่วงเกินแล้ว ถ้าความพรั่งพร้อมของ สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มี โทษหยาบและอาบัติที่มีความพัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยติณวัตถารกวินัยในท่ามกลาง สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านเหล่านี้ และเพื่อประโยชน์แก่ตน’ อานนท์ ติณวัตถารกวินัย เป็นอย่างนี้ การระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรม วินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกวินัยอย่างนี้
ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
[๕๔] อานนท์ สาราณียธรรม(ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน๑- สาราณียธรรม ๖ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. ตั้งมั่นเมตตากายกรรม๓- ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน @เชิงอรรถ : @ ความเป็นอันเดียวกัน หมายถึงความเป็นเอกภาพ ไม่ก่อความแตกแยก (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒, @องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๒/๑๐๔) @ ดูเทียบ วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๔/๓๖๘-๓๖๙, ที.ปา. (แปล) ๑๑/๓๒๔/๓๒๑-๓๒๒, @ม.มู. (แปล) ๑๒/๔๙๒/๕๓๑-๕๓๒, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๑๑-๑๒/๔๒๖-๔๒๘ @ เมตตากายกรรม หมายถึงกายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา เมตตาวจีกรรม และ @เมตตามโนกรรม ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกันนี้ (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๒, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๔. สามคามสูตร

๒. ตั้งมั่นเมตตาวจีกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๓. ตั้งมั่นเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า และลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๔. บริโภคโดยไม่แบ่งแยก๑- ลาภทั้งหลายที่ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงบิณฑบาต ก็บริโภคร่วมกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีล ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่ วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน ๕. เป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้ สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอ กันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง สาราณีย- ธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความ สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ ความเป็นอันเดียวกัน ๖. เป็นผู้มีทิฏฐิโดยทิฏฐิอันประเสริฐ เป็นนิยยานิกธรรม๒- เพื่อความ สิ้นทุกข์โดยเสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง สาราณียธรรมแม้นี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน @เชิงอรรถ : @ ไม่แบ่งแยก หมายถึงไม่แบ่งแยกอามิสโดยคิดว่า “จะให้เท่านี้ๆ” และไม่แบ่งแยกบุคคลโดยคิดว่า @“จะให้แก่คนนั้น ไม่ให้แก่คนนี้” (ม.มู.อ. ๒/๔๙๒/๓๐๓, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๑/๙๙) @ นิยยานิกธรรม หมายถึงธรรมที่ตัดมูลรากแห่งวัฏฏะทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ @(อภิ.สงฺ.อ. ๑/๘๓-๑๐๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๕. สุนักขัตตสูตร

อานนท์ สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อ ความเป็นอันเดียวกัน ถ้าเธอทั้งหลายพึงสมาทานสาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ประพฤติอยู่ เธอทั้งหลายจะเห็นแนวทางว่ากล่าวกันได้ น้อยบ้าง มากบ้าง ที่เธอ ทั้งหลายพึงอดกลั้นไว้ไม่ได้บ้างไหม” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงสมาทาน สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ แล้วประพฤติเถิด การประพฤตินั้นจักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่เธอทั้งหลายตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
สามคามสูตรที่ ๔ จบ
๕. สุนักขัตตสูตร
ว่าด้วยเจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขต กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของ พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”๑- เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรได้ฟังว่า “ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์อรหัตตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒, ๓ และ ๔ ข้อ ๑๙ (เทวทหสูตร) หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๕๙-๖๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=59&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=1731 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=1731#p59 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙-๖๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]