ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๖๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๕. สุนักขัตตสูตร

พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร๑- ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังว่า ‘ภิกษุจำนวนมากได้พยากรณ์ อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้า พระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จ แล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เหล่านั้น ได้พยากรณ์อรหัตตผล โดยชอบ หรือว่ามีภิกษุบางพวกได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้ บรรลุ พระพุทธเจ้าข้า” [๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สุนักขัตตะ ภิกษุเหล่านั้นผู้พยากรณ์ อรหัตตผลในสำนักของเราว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ มีภิกษุบางพวกในศาสนานี้ได้พยากรณ์อรหัตตผลโดยถูกต้องทีเดียว แต่มีภิกษุ บางพวกในศาสนานี้ ได้พยากรณ์อรหัตตผลด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุ สุนักขัตตะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พยากรณ์อรหัตตผลโดย ชอบเหล่านั้น ย่อมมีอรหัตตผลจริงทีเดียว ส่วนบรรดาภิกษุผู้พยากรณ์อรหัตตผล ด้วยความสำคัญตนว่าได้บรรลุเหล่านั้น ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดง ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’ สุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ ตถาคตมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ ภิกษุเหล่านั้น‘แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกแต่งปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความคิดในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น’ ก็จะเป็นอย่างอื่นไป” @เชิงอรรถ : @ ที่สมควร (เอกมนฺตํ) ในที่นี้หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษการนั่ง ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกล @เกินไป (๒) ใกล้เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๖๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=62&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=1822 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=1822#p62 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]