ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๙๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง ตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร๒- ๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก๓- @เชิงอรรถ : @ ทรงสุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คือ @สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาฬกสูตร @ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และพุทธพจน์อื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ @เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย @เวยยากรณะ ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถาและพุทธพจน์อื่นที่ไม่จัดเข้า @ในองค์ ๘ ที่เหลือ @คาถา ได้แก่ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร @อุทาน ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตรที่เกี่ยวด้วยคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วย @โสมนัสญาณ @อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตมิทํ ภควตา เป็นต้น @ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น @อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏทั้งหมด ที่ตรัสโดยนัยว่า @“ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น @เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ เช่น จูฬเวทัลลสูตร @มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และ @มหาปุณณมสูตร (ม.มู.อ. ๒/๒๓๘/๑๓, ม.มู.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๙) @ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือ เภสัช ๕ ชนิด ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย @(วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนี้มีประโยชน์ ๒ อย่างคือ @(๑) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขารคือบริวารของชีวิต ดุจกำแพงล้อมพระ @นครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นทอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้นและเป็นสัมภาระของชีวิต คือ @คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗, @ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) @(๒) เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป @(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๒/๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=90&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=2663 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=2663#p90 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]