ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

                                                                 ๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึง มาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ ๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑- ๑๐. ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งเองซึ่งเจโตวิมุตติ๒- ปัญญาวิมุตติ๓- อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พราหมณ์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการนี้ อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอกไว้ บรรดาอาตมภาพทั้งหลาย รูปใดมีธรรมเหล่านี้ ในบัดนี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยรูปนั้นอยู่” [๘๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหา อำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ได้เรียกอุปนันทเสนาบดีมาพูดว่า “เสนาบดี ท่าน เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ พระคุณเจ้าเหล่านี้สักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชาอยู่อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๕-๔๗๘/๒๐๘-๒๑๑ @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ (ที่เป็น @ปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ใน @ที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, ดูเทียบ องฺ.ทุก.อ. @๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา (ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา @๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗ @ดูเทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=92&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=2733 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=2733#p92 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]