ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมวรรค ๙. ยัญญสูตร

๙. ยัญญสูตร
ว่าด้วยการบูชายัญ
[๑๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ผู้เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัย คุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า กระทำบริกรรมอยู่ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร๑- เข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ ตระเตรียมการบูชามหายัญ คือ โคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโค ตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อ บูชายัญ แม้ข้าราชบริพารของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ผู้เป็นทาส คนใช้หรือ กรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้น้ำตา นองหน้า กระทำบริกรรมอยู่” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า มหายัญที่มีกิริยามากเหล่านั้น คือ อัสวเมธ บุรุษเมธ สัมมาปาสะ @เชิงอรรถ : @ คำว่า ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร นี้มิใช่ก่อนหน้านี้มิได้นุ่งสบง มิใช่ว่าถือบาตรและจีวรไปโดย @เปลือยกายส่วนบน แต่คำว่า “ครองอันตรวาสก” หมายถึงผลัดเปลี่ยนสบง หรือขยับสบงที่นุ่งอยู่ให้ @กระชับ คำว่า “ถือบาตรและจีวร” หมายถึงถือบาตรด้วยมือ ถือจีวรด้วยกาย คือห่มจีวรแล้วอุ้มบาตร @นั่นเอง (เทียบ วิ.อ. ๑/๑๖/๑๘๐, ที.ม.อ. ๑๕๓/๑๔๓, ม.มู.อ. ๑/๖๓/๑๖๓, ขุ.อุ.อ. ๖/๖๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๓๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๓. โกสลสังยุต]

                                                                 ๑. ปฐมวรรค ๑๐. พันธนสูตร

วาชเปยยะ นิรัคคฬะ๑- ไม่มีผลมาก (เพราะ)พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ย่อมไม่เกี่ยวข้องกับยัญที่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ ส่วนยัญใด ไม่มีกิริยา เอื้ออำนวยประโยชน์ ประชาชนบูชาตระกูลทุกเมื่อ คือ ไม่มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ พระอริยะผู้ปฏิบัติชอบ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ย่อมเกี่ยวข้องกับยัญนั้น นักปราชญ์พึงบูชายัญนั้น ที่มีผลมาก เพราะเมื่อบูชายัญนั้นนั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ยัญย่อมแพร่หลาย และเทวดาก็ยังเลื่อมใส๒-
ยัญญสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำ
[๑๒๑] สมัยนั้น หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวก ถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต ยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้า @เชิงอรรถ : @ คำทั้ง ๕ คำ หมายถึงมหายัญ ๕ ประการของพราหมณ์ ได้แก่ อัสวเมธ คือการฆ่าม้าบูชายัญ @ปุริสเมธ คือการฆ่าคนบูชายัญ สัมมาปาสะ คือการทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำการ @บูชายัญที่นั้น วาชเปยยะ คือการดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัยชนะ นิรัคคฬะ คือยัญไม่มีลิ่มหรือกลอน คือ @ทั่วไปไม่มีขีดคั่นจำกัด การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ อนึ่ง มหายัญ ๕ ประการนี้ เดิมทีเดียวเป็นหลัก @สงเคราะห์ที่ดีงาม แต่พราหมณ์สมัยหนึ่งดัดแปลงเป็นการบูชายัญเพื่อผลประโยชน์ในทางลาภสักการะ @แก่ตน (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๐/๑๓๘-๑๓๙, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๙/๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=138&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=3698 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=3698#p138 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๘-๑๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]