ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๒๖-๒๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๓. สัตติวรรค ๓. ชฏาสูตร

๒. ผุสติสูตร
ว่าด้วยการถูกต้อง
[๒๒] เทวดากล่าวว่า วิบากกรรมย่อมไม่ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ถูกต้อง๑- แต่ถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้องเท่านั้น เพราะฉะนั้น วิบากกรรมจึงถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้อง ผู้ประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ใดประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน๒- บาปย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้ ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น๓-
ผุสติสูตรที่ ๒ จบ
๓. ชฏาสูตร
ว่าด้วยความยุ่ง
[๒๓] เทวดาทูลถามว่า หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้ @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่ถูกต้อง หมายถึงผู้ไม่ถูกต้องกรรม, ผู้ไม่ทำกรรม (สํ.ส.อ. ๑/๒๒/๔๘) @ กิเลสเพียงดังเนิน หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ ที่ชื่อว่า เป็นเนิน เพราะทำจิตให้ลาดต่ำ โน้มไปสู่ที่ต่ำ @เช่นต้องย้อนไปสู่จตุตถฌานอีก ในที่บางแห่ง คำว่า องฺคณ หมายถึงพื้นที่ที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์ @เนินเจดีย์ เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑) @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๑๒๕/๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๓. สัตติวรรค ๔. มโนนิวารณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา๑- มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้ บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว นาม๒- ก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี รูปสัญญาก็ดี๓- ดับไม่เหลือในที่ใด ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น๔-
ชฏาสูตรที่ ๓ จบ
๔. มโนนิวารณสูตร
ว่าด้วยการห้ามใจ
[๒๔] เทวดากราบทูลว่า บุคคลห้ามใจจากอารมณ์ใดๆ ได้ ทุกข์เพราะอารมณ์นั้นๆ ย่อมไม่มาถึงเขา เขาห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวงได้ ย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ เจริญจิตและปัญญา หมายถึงเจริญสมาธิและวิปัสสนา (สํ.ส.อ. ๑/๒๓/๔๙) @ นาม หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ (คือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ) (สํ.ส.อ. ๑/๒๓/๕๐) @ ปฏิฆสัญญา หมายถึงกามภพ รูปสัญญา หมายถึงรูปภพ (สํ.ส.อ. ๑/๒๓/๕๐) @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๙๒ หน้า ๒๗๒-๒๗๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๖-๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=26&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=648 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=648#p26 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖-๒๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]