ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๕. อาทิตตวรรค ๔. เอกมูลสูตร

๓. อันนสูตร
ว่าด้วยข้าว
[๔๓] เทวดากล่าวว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่ ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
อันนสูตรที่ ๓ จบ
๔. เอกมูลสูตร
ว่าด้วยบาดาลมีรากอันเดียว
[๔๔] เทวดากล่าวว่า บาดาลมีรากอันเดียว๑- มีวนเวียน ๒ อย่าง๒- มีมลทิน ๓ ประการ๓- มีเครื่องลาด ๕ ประการ๔- เป็นทะเลหมุนไปได้ทั้ง ๑๒ ด้าน๕- ฤาษีข้ามพ้นได้แล้ว
เอกมูลสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ รากอันเดียว หมายถึงอวิชชา (สํ.ส.อ. ๑/๔๔/๘๒) @ วนเวียน ๒ อย่าง หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (สํ.ส.อ. ๑/๔๔/๘๒, สํ.ฏีกา ๑/๔๔/๑๒๔) @ มลทิน ๓ ประการ หมายถึงราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๔๔/๘๒) @ เครื่องลาด ๕ ประการ หมายถึงกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สํ.ส.อ. ๑/๔๔/๘๒) @ หมุนไปได้ทั้ง ๑๒ ด้าน หมายถึงหมุนไปในอายตนะ ๑๒ (สํ.ส.อ. ๑/๔๔/๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=59&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=1504 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=1504#p59 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]