ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๐๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๖. ทุกขวรรค ๓. สังโยชนสูตร

๓. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์
[๕๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายที่ เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์๑- ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติม น้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย แห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสอันผูกใจสัตว์หรือธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ @(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) (๒) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (๓) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต) @(๔) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) (๕) พยาบาท (ความคิดร้าย) (๖) รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์ @แห่งรูปฌาน) (๗) อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน) (๘) มานะ (ความถือตัว) (๙) อุทธัจจะ @(ความฟุ้งซ่าน) (๑๐) อวิชชา (ความไม่รู้จริง) (สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๑๐๖-๑๐๘, @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๐๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๐๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=16&page=106&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=2933 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=16&A=2933#p106 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]