ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดงหน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๕๒-๕๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร

ในวาทะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และข้าพระองค์ ทั้งหลายจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่า กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการ คล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” “อุปวาณะ เรากล่าวว่าทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัย อะไร คือ อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวก สมณพราหมณ์ ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติว่าเกิดขึ้นเพราะ อาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย อุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เป็น สิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์ ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ที่สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้น จากผัสสะ”
อุปวาณสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปัจจยสูตร
ว่าด้วยปัจจัย
[๒๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๕๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๓. ทสพลวรรค ๗. ปัจจยสูตร

ชราและมรณะ เป็นอย่างไร คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมี หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่า สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือ มฤตยู การทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ นี้เรียกว่า ชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ชื่อว่าปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ชาติเป็นอย่างไร ฯลฯ ภพเป็นอย่างไร ... อุปาทานเป็นอย่างไร ... ตัณหาเป็น อย่างไร ... เวทนาเป็นอย่างไร ... ผัสสะเป็นอย่างไร ... สฬายตนะเป็นอย่างไร ... นามรูปเป็นอย่างไร ... วิญญาณเป็นอย่างไร สังขารทั้งหลาย มีเท่าไร สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย) ๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา) ๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ) นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๕๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๕๒-๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=16&page=52&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=1416 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=16&A=1416#p52 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๒-๕๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]