ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

แม้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทรงล้างพระบาทแล้วก็เสด็จเข้าไปยัง ท้องพระโรง ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศตะวันออก ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ให้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ด้านหน้าเช่นกัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีส่วนมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “ท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรี๑- ล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงรู้กาลอันสมควรใน บัดนี้เถิด” เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทูลรับพระดำรัสแล้วเสด็จลุกขึ้นจากที่ ประทับ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วเสด็จจากไป ขณะนั้น เมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์เสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของเธอจงปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง” ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา (การ นอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติ สัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยว่าจะเสด็จลุกขึ้น ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของ ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย ผมจักแสดงอวัสสุตบรรยาย๒- และอนวัสสุตบรรยาย๓- แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระ มหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงยาม ๒ (ตั้งแต่ ๔ ทุ่ม ถึง ตี ๒) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๑) @ อวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๓, สํ.ฏีกา ๒/๒๔๓/๔๐๓) @ อนวัสสุตบรรยาย หมายถึงเหตุแห่งความเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๓, @สํ.ฏีกา ๒/๒๔๓/๔๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๔๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

“ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายใน ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ มีปริตตจิตอยู่ และไม่รู้ชัดเจโต- วิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็ พึงได้ช่องได้อารมณ์๑- ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์ เรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อหรือเรือนที่สร้างด้วยหญ้าแห้งกรอบมีอายุ ๓-๔ ปี ถ้า แม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศเหนือ ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คน เอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหนๆ ก็ตาม ไฟก็พึงได้ช่องได้เชื้อแม้ ฉันใด @เชิงอรรถ : @ อารมณ์ ในที่นี้หมายถึงปัจจัย (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๓/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๔๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๖. อวัสสุตปริยายสูตร

ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็พึงได้ช่องได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทาง ลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางใจ มารก็พึงได้ช่องได้ อารมณ์ รูปครอบงำภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ได้ ภิกษุหาครอบงำรูปได้ไม่ เสียง ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำเสียงได้ไม่ กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหา ครอบงำกลิ่นได้ไม่ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำรสได้ไม่ โผฏฐัพพะ ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำโผฏฐัพพะได้ไม่ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุหาครอบงำธรรมารมณ์ได้ไม่ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกครอบงำ คือ ถูกรูปครอบงำ ถูกเสียงครอบงำ ถูก กลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ และถูกธรรมารมณ์ครอบงำ แต่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ไม่ได้ ธรรมที่เป็น บาปอกุศลอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ครอบงำเธอแล้ว ภิกษุเป็นผู้ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลส เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้าย ในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ยินร้ายใน ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งมั่นกายคตาสติ มีอัปปมาณจิตอยู่ และรู้ชัดเจโต- วิมุตติและปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริง อันเป็นที่ดับไปโดยไม่เหลือแห่งธรรมที่ เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๔๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางลิ้น ฯลฯ ถ้าแม้มาร เข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ เรือนยอดหรือศาลาที่พอกดินเหนียวหนามีเครื่องฉาบทาเปียก ถ้าแม้คนเอา คบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ฯลฯ ทางทิศใต้ ฯลฯ ทางทิศเบื้องต่ำ ฯลฯ ทางทิศเบื้องบน ฯลฯ ถ้าแม้คนเอาคบเพลิงที่ติดไฟ เข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศไหนๆ ก็ตาม ไฟก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เชื้อ แม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ทางตา มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น ... ทางใจ มารก็ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้อารมณ์ ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ครอบงำรูปได้ รูป ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำ กลิ่นได้ กลิ่นครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้ครอบงำ คือ ครอบงำรูปได้ ครอบงำเสียงได้ ครอบงำ กลิ่นได้ ครอบงำรสได้ ครอบงำโผฏฐัพพะได้ และครอบงำธรรมารมณ์ได้ แต่ไม่ ถูกรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ครอบงำ เธอครอบงำธรรมที่ เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นอันเป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ มีความ กระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยกิเลสเป็นอย่างนี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๗. ทุกขธัมมสูตร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จลุกขึ้น รับสั่งเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะ มาตรัสชมว่า “ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ดีนักที่เธอได้กล่าวอวัสสุตบรรยายและ อนวัสสุตบรรยายแก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรง พอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้แล
อวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖ จบ
๗. ทุกขธัมมสูตร
ว่าด้วยทุกขธรรม
[๒๔๔] “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม๑- ทั้งปวงตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเธอย่อมเห็นกามโดยอาการที่เมื่อเห็นกามอยู่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วย อำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลายจะไม่นอนเนื่อง ทั้งตามรู้ธรรมเครื่องประพฤติและธรรมเครื่องอยู่โดยอาการที่เมื่อประพฤติอยู่ ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสจะไม่ครอบงำ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง เป็นอย่างไร คือ รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา ฯลฯ อย่างนี้สัญญา ฯลฯ อย่างนี้สังขาร ฯลฯ อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็น อย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ทุกขธรรม หมายถึงขันธ์ ๕ ที่เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๔/๑๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=247&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=6918 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=6918#p247 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๗-๒๕๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]