ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๓๕๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๖. โมคคัลลานสังยุต]

                                                                 ๓. ตติยัชฌานปัญหาสูตร

๖. โมคคัลลานสังยุต
๑. ปฐมัชฌานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องปฐมฌาน
[๓๓๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียก ภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา- โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อผมหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในที่นี้ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘ที่เรียกกันว่า ‘ปฐมฌาน ปฐมฌาน’ ปฐมฌานเป็นอย่างไร’ ผมนั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า ‘ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ นี้เรียกว่า ‘ปฐมฌาน’ ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อผมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ (การใส่ใจ สัญญา) ประกอบด้วยกาม๑- ก็ปรากฏขึ้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์แล้วได้ตรัส ดังนี้ว่า ‘โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ โมคคัลลานะผู้เป็นพราหมณ์ เธออย่า ประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงทำจิตให้เป็นหนึ่งผุดขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน’ ต่อมา ผมนั้นสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็บุคคลเมื่อ จะพูดให้ถูก พึงพูดว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็น ผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่’ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผมว่า ‘พระสาวกผู้ที่พระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่”
ปฐมัชฌานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ประกอบด้วยกาม ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยนิวรณ์ ๕ ประการ (คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ @อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) (สํ.สฬา.อ. ๓/๓๓๒-๓๓๙/๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๕๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๕๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=350&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=9731 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=9731#p350 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]