ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๔. คันถสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
โยคสูตรที่ ๒ จบ
๓. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยอุปาทาน
[๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ ประการนี้ อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) อุปาทาน ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อุปาทานสูตรที่ ๓ จบ
๔. คันถสูตร
ว่าด้วยคันถะ
[๑๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย คันถะ (กิเลสเครื่องผูก) มี ๔ ประการนี้ คันถะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อภิชฌากายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคืออภิชฌา) ๒. พยาปาทกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือพยาบาท) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๕. อนุสยสูตร

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น ศีลพรต) ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น ว่าสิ่งนี้จริง) คันถะ ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
คันถสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย
[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ ประการนี้ อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ) ๓. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา) ๕. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ) ๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ) ๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา) อนุสัย ๗ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง ๗ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อนุสยสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=102&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=2745 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=2745#p102 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]