ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๒๕-๒๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ทุติยปฏิปทาสูตร

กุศลธรรม อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า กุศลธรรม”
อกุสลธัมมสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๑
[๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติผิด) และสัมมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติชอบ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา”
ปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๓ จบ
๔. ทุติยปฏิปทาสูตร
ว่าด้วยปฏิปทา สูตรที่ ๒
[๒๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรม๑- ที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่ง การปฏิบัติผิด @เชิงอรรถ : @ ญายธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมคืออริยมรรค (สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๓. มิจฉัตตวรรค ๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร

มิจฉาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. มิจฉาสมาธิ นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ผู้ปฏิบัติผิดย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จไม่ได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด ภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่ง การปฏิบัติชอบ สัมมาปฏิปทา อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้ ปฏิบัติชอบย่อมทำญายธรรมที่เป็นกุศลให้สำเร็จได้ เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติชอบ”
ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษ สูตรที่ ๑
[๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉากัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๕-๒๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=25&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=677 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=677#p25 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕-๒๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]