ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๒๘-๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๓. มิจฉัตตวรรค ๘. สมาธิสูตร

๗. กุมภสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยหม้อ
[๒๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ยาก แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอก ได้ง่าย ที่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องรองรับจิต คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องรองรับจิต หม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ กลิ้งไปได้ยาก แม้ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ไม่มีธรรมเครื่องรองรับ กลับกลอกได้ง่าย ที่มีธรรม เครื่องรองรับ กลับกลอกได้ยาก”
กุมภสูตรที่ ๗ จบ
๘. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ๑- บ้าง ที่มีบริขาร๒- บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ ที่มีบริขาร อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ @เชิงอรรถ : @ อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสัย หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗) ในที่นี้หมายถึง @ปัจจัย (สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๖) @ บริขาร ในที่นี้หมายถึงบริวาร (สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๓. มิจฉัตตวรรค ๑๐. อุตติยสูตร

สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริย- สัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง”
สมาธิสูตรที่ ๘ จบ
๙. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา
[๒๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ๓. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์) เวทนา ๓ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคมีองค์ ๘ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล”
เวทนาสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ
[๓๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๘-๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=28&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=761 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=761#p28 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘-๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]