ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๑๖๙.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๓. ปัตตวรรค ๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๔๙] คำว่า เมื่อยังเหลืออีก ๑๐ วัน คือ อีก ๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันครบไตรมาส ท่านกล่าวหมายเอาวัน ปวารณาเดือน ๑๑ ที่ชื่อว่า อัจเจกจีวร อธิบายว่า ผู้ประสงค์จะไปในกองทัพ ประสงค์จะไป พักแรมต่างถิ่น เจ็บไข้ สตรีมีครรภ์ ผู้ไม่มีศรัทธาได้เกิดศรัทธาขึ้นหรือผู้ไม่เลื่อมใส ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้น ถ้าเขาส่งทูตไปถึงภิกษุว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา เถิด ข้าพเจ้าจะถวายผ้าจำนำพรรษา” ผ้าเช่นนี้ชื่อว่าอัจเจกจีวร คำว่า รู้อยู่ว่าเป็นอัจเจกจีวรพึงรับไว้ ครั้นรับไว้แล้วควรเก็บไว้ได้ชั่วสมัยที่ เป็นจีวรกาล คือ ภิกษุพึงทำเครื่องหมายว่า “นี้คืออัจเจกจีวร” แล้วเก็บไว้ ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐินมีเวลาท้ายฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกรานกฐินแล้ว ขยายเวลาออกไปอีกเป็น ๕ เดือน คำว่า ถ้าเก็บไว้เกินกำหนดนั้น คือ เมื่อไม่กรานกฐิน ให้เกินวันสุดท้ายฤดูฝน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วเก็บไว้เลยวันกฐินเดาะ เป็น นิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละอัจเจกจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าอัจเจกจีวรผืนนี้ กระผมทำให้เกินสมัยที่เป็นจีวรกาล เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอัจเจกจีวรผืนนี้แก่ สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอัจเจกจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อัจเจกจีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้อัจเจกจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๖๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=169&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=4335 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=4335#p169 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๖๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]