ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๖.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๒. คณโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันคณโภชนะ
เรื่องพระเทวทัต
[๒๐๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเสื่อมลาภ สักการะ จึงพากันออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อ สายศากยบุตรจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า ภัตตาหาร ที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า” พวกภิกษุได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตพร้อมกับ บริษัทจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น ตำหนิพระเทวทัตโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอพร้อมกับบริษัทเที่ยวออกปากขอ ภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ” พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธ เจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอพร้อมกับบริษัท จึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

พระบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ๑- สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระเทวทัต จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๒๑๐] สมัยนั้น พวกชาวบ้านนิมนต์พวกภิกษุเป็นไข้ฉันภัตตาหาร ภิกษุ เหล่านั้นมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับ นิมนต์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเป็นไข้ฉันคณโภชนะได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ
@เชิงอรรถ : @ การฉันคณโภชนะ มีได้ ๒ กรณี (๑) ทายกนิมนต์ไปฉัน (๒) ภิกษุออกปากขอภัตตาหารมาฉัน @(วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑) คือทายกนิมนต์ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปพร้อมกันไปฉันโดยออกชื่ออาหาร ภิกษุไปพร้อมกัน @รับประเคนพร้อมกัน ฉันพร้อมกัน แต่ถือการรับประเคนพร้อมกันเป็นประมาณ ถ้ารับประเคนแยกกัน @ไม่ต้องอาบัติ นี้จัดเป็นคณโภชนะโดยทายกนิมนต์ และอีกกรณีหนึ่ง ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ยืนหรือนั่ง @อยู่ด้วยกันเห็นอุบาสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่อาตมาทั้ง ๔ รูป หรือเห็นต่างคราว @กัน แล้วต่างออกปากขอร่วมกัน หรือต่างคราวกันว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่อาตมา ท่านจงถวาย @ภัตตาหารแก่อาตมา แล้วจะไปพร้อมกัน หรือไปแยกกัน จะรับประเคนภัตตาหารแล้วฉันพร้อมกัน หรือ @แยกกันฉันก็ตาม ต้องอาบัติเพราะถือการรับประเคนพร้อมกันเป็นประมาณ นี้จัดเป็นคณโภชนะโดยการ @ออกปากขอ (วิ.อ. ๒/๒๑๗-๒๑๘/๓๔๖-๓๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ถวายจีวร
[๒๑๑] สมัยนั้น พวกชาวบ้านตระเตรียมภัตตาหารพร้อมจีวรในสมัยที่จะ ถวายจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายด้วยตั้งใจว่า “พวกเรานิมนต์ภิกษุทั้งหลายฉัน แล้วจะให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” ไม่รับนิมนต์ จึงได้จีวรเพียงเล็กน้อย ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ ภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ถวาย จีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ทำจีวร
[๒๑๒] สมัยนั้น พวกชาวบ้านนิมนต์พวกภิกษุผู้ทำจีวรฉันภัตตาหาร ภิกษุ ทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่ รับนิมนต์ ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่ทำ จีวร” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เดินทางไกล
[๒๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางไกลไปกับพวกชาวบ้าน ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านเหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่าน โปรดรอสักครู่ พวกอาตมาจะไปบิณฑบาต” พวกชาวบ้านได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย นิมนต์ พวกท่านฉันที่นี่แหละ” ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับแล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เดินทาง ไกล” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล นี้เป็น สมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่โดยสารเรือ
[๒๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโดยสารเรือไปกับพวกชาวบ้าน ครั้งนั้นภิกษุ เหล่านั้นได้กล่าวกับพวกชาวบ้านเหล่านั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรด นำเรือเข้าเทียบที่ฝั่งสักครู่ พวกอาตมาจะไปบิณฑบาต” พวกชาวบ้านเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย นิมนต์พวก ท่านฉันที่นี่แหละ” ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับ แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่โดยสาร เรือ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล สมัยที่โดย สารเรือ นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในมหาสมัย
[๒๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายในถิ่นต่างๆ ออกพรรษาแล้ว ได้เดินทางมา เฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงราชคฤห์ พวกชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้มาจากต่างถิ่น จึงนิมนต์ฉันภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับนิมนต์ แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในมหาสมัย” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยในข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล สมัยที่โดย สารเรือ มหาสมัย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ
[๒๑๖] สมัยนั้น พระญาติร่วมสายโลหิตของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทรงผนวชในสำนักของอาชีวกทั้งหลาย ครั้งนั้น อาชีวกนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้า พิมพิสารถึงพระราชสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ถวายพระพรพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ดังนี้ว่า “มหาบพิตร อาตมาปรารถนาจะจัดภัตตาหารถวายนักบวชผู้เป็นเจ้าลัทธิ ทั้งหมด” พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธตรัสว่า “พระคุณเจ้า ถ้าท่านนิมนต์ภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้มาฉันก่อน โยมจึงจะจัดถวาย” ครั้งนั้น อาชีวกนั้นส่งทูตไปหาภิกษุทั้งหลายให้อาราธนาว่า “ขอนิมนต์ภิกษุ ทั้งหลายรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้” ภิกษุทั้งหลายมีความยำเกรงอยู่ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการฉันคณโภชนะ” จึงไม่รับนิมนต์ ครั้งนั้น อาชีวกนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคพอเป็นที่บรรเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วได้ ยืนอยู่ ณ ที่สมควร อาชีวกผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรนั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๒. คณโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมก็เป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าก็เป็นบรรพชิต บรรพชิตควรจะรับ ภัตตาหารของบรรพชิต ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของ ข้าพเจ้าเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นอาชีวกทราบว่าพระผู้มี พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงถวายอภิวาทแล้วจากไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ในสมัยที่เป็น ภัตตาหารของสมณะ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๑๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะนอกสมัย สมัยใน ข้อนั้น คือ สมัยที่เป็นไข้ สมัยที่ถวายจีวร สมัยที่ทำจีวร สมัยที่เดินทางไกล สมัยที่โดยสารเรือ มหาสมัย สมัยที่เป็นภัตตาหารของสมณะ นี้เป็นสมัยใน ข้อนั้น
สิกขาบทวิภังค์
[๒๑๘] ที่ชื่อว่า ฉันคณโภชนะ คือ ภิกษุ ๔ รูปที่เขานิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วไปฉัน นี้ชื่อว่าฉันคณโภชนะ๑- คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า สมัยที่เป็นไข้ คือ ที่สุดแม้กระทั่งเท้าแตก ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่เป็นไข้ พึงฉันได้ ที่ชื่อว่า สมัยที่ถวายจีวร คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน กำหนดเอาเดือนสุดท้าย แห่งฤดูฝน เมื่อกรานกฐินแล้วมีกำหนดเวลา ๕ เดือน ภิกษุคิดว่า เป็นสมัยที่ถวาย จีวร พึงฉันได้ @เชิงอรรถ : @ คณโภชนํ ฉันคณโภชนะ คือ คณสฺส โภชเน ฉันโภชนะ(อาหาร)ของคณะ (วิ.อ. ๒/๒๑๗-๒๑๘/๓๔๖), @คเณน ลทฺธตฺตา คณสฺส สนฺตเก โภชเน ฉันโภชนะที่เป็นของคณะซึ่งคณะได้มา (กงฺขา.ฏีกา ๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๗๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=370&pages=7&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=9437 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=9437#p370 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๐-๓๗๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]