ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

ก็มาณพผู้เป็นกามโภคีบุคคล เป็นคนฉลาดที่จะรวบรวมโภคทรัพย์ เขาเป็นคนตาเดียวจากโลกนี้ไปสู่นรกย่อมเดือดร้อน ส่วนบุคคลสองตา เรากล่าวว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด เขาให้ทรัพย์ที่ตนได้มาด้วยความหมั่นเป็นทาน จากโภคทรัพย์ที่ตนหาได้โดยชอบธรรม มีความดำริประเสริฐ มีจิตใจไม่วอกแวก ย่อมเข้าถึงฐานะที่เจริญซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศก บุคคลควรเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลตาบอดและบุคคลตาเดียว แต่ควรคบบุคคลสองตาที่ประเสริฐที่สุด
อันธสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อวกุชชสูตร
ว่าด้วยบุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ ๒. บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก ๓. บุคคลมีปัญญากว้างขวาง(เหมือนหม้อหงาย) บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์๑- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งรวมอยู่ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็น @ความประพฤติประเสริฐ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๐/๑๐๘-๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปุคคลวรรค ๑๐. อวกุชชสูตร

แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ แม้ ลุกจากที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือน หม้อคว่ำที่เขาเทน้ำลงไป น้ำย่อมไหลราดไป ไม่ขังอยู่แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลก นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นก็ไม่ได้ แม้ ลุกจากที่นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจาก ที่นั้นแล้วก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษเก็บ ของเคี้ยวต่างๆ คือ งา ข้าวสาร ขนมต้ม พุทราไว้ที่ชายพก บุรุษนั้นเมื่อลุกจากที่ นั้นพึงทำเรี่ยราดเพราะเผลอสติแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความ งามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แต่ลุกจากที่นั้นแล้ว ก็จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นไม่ได้ นี้เรียกว่า บุคคลมีปัญญาเหมือนชายพก บุคคลมีปัญญากว้างขวาง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไปวัดเป็นประจำเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน แก่เขา เขานั่งตรงที่นั้น จำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ แม้ลุกจากที่ นั้นแล้วก็ยังจำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกถานั้นได้ เปรียบเหมือนหม้อหงาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๘๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=180&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=4933 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=4933#p180 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๘๐-๑๘๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]