ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๙๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พราหมณ์๑- ผู้ดับกิเลสแล้วย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม๒- เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่างแล้ว พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ๓- ย่อมอยู่เป็นสุข
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ
๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔- ๓ จำพวกนี้ เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย นิรยบาล๕- จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖- ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด” @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ ลอยบาปได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ไม่ติดอยู่ในกาม ในที่นี้หมายถึงไม่ติดอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกามด้วยอำนาจกิเลสคือตัณหาและ @มิจฉาทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงกิเลสนิพพาน(ความดับกิเลส) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ เทวทูต ในทีนี้หมายถึงสื่อแจ้งข่าวมฤตยู เป็นสัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตมิให้ประมาท @ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ปรากฏเสมือนเทวดาทรงเครื่องประดับมายืนในอากาศ เตือนว่า @“วันโน้นท่านจะตาย” (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๒) @ นายนิรยบาล หมายถึงผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) @ พญายม หมายถึงพญาเวมานิกเปรต ซึ่งบางครั้งเสวยสมบัติในวิมานทิพย์ บางคราวเสวยวิบากแห่งกรรม @และพญายมนั้นมิใช่มีตนเดียว แต่มีถึง ๔ ตน ประจำประตูนรก ๔ ประตู (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=191&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=5266 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=5266#p191 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๙๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]