ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ท่านชอบใจ ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ ภาพมายา ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=235&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=6572 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=6572#p235 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]