ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๒๖๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๖. สาฬหสูตร

บุคคลถือปฏิบัติบริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข” เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึง(ธรรมเหล่านั้น)อยู่เถิด เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้นั้น เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น สาฬหะและโรหนะ พระอริยสาวกนั้นปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ... ทิศ ที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่ เหล่าในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอด ทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินี้๑- มีอยู่ ธรรมอันทราม๒- มีอยู่ ธรรมอันประณีต๓- มีอยู่ การที่สัญญานี้สลัดออกอย่าง ยอดเยี่ยม๔- มีอยู่” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรามีโลภะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โลภะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ ฯลฯ เมื่อก่อนเรามีโมหะ เรื่องนั้นเป็นสิ่งไม่ดี บัดนี้โมหะนั้นไม่มี เรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ดี” เธอไม่มีความทะยาน อยาก ดับสนิทเยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหมอยู่ในปัจจุบัน
สาฬหสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมชาตินี้ หมายถึงทุกขสัจ กล่าวคือขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันทราม หมายถึงสมุทัยสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๔) @ ธรรมอันประณีต หมายถึงมรรคสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) @ การสลัดออกอย่างยอดเยี่ยม หมายถึงนิโรธสัจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๗/๒๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๖๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๖๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=269&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=7593 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=7593#p269 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๖๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]