ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๓-๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๓] สุปปวาสาโกลิยธิดาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้ถวายรสอันประณีต (๖) [๒๖๔] สุปปิยาอุบาสิกาเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้บำรุงภิกษุอาพาธ (๗) [๒๖๕] กาติยานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น (๘) [๒๖๖] นกุลมาตาคหปตานีเลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ ที่ทำให้เกิดความคุ้นเคย (๙) [๒๖๗] กาลีอุบาสิกาชาวเมืองกุรรฆระ เลิศกว่าอุบาสิกาสาวิกาทั้งหลายของเรา ผู้เลื่อมใสเพราะได้ยินได้ฟังตามๆ กันมา (๑๐)
สัตตมวรรค จบ
เอตทัคควรรคที่ ๑๔ จบ
๑๕. อัฏฐานบาลี
บาลีว่าด้วยความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
[๒๖๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลย๑- ที่บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ๒- พึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง แต่เป็นไปได้๓- ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสภาวะเที่ยง (๑) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อที่ ๔๑ หน้า ๗ ในเล่มนี้ @ บุคคล ในที่นี้หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป และ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ @คือความเห็นชอบ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) @ เป็นไปได้ ในที่นี้หมายถึงยอมรับฐานะ(เหตุ)ที่ให้เป็นไปได้ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๖๘/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๑. ปฐมวรรค

[๒๖๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือสังขารไรๆ โดย ความเป็นสุข แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข (๒) [๒๗๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความ เป็นอัตตา แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตา (๓) [๒๗๑] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่ามารดา แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชนพึงฆ่ามารดา (๔) [๒๗๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าบิดา แต่เป็นไปได้ ที่ปุถุชนพึงฆ่าบิดา (๕) [๒๗๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงฆ่าพระอรหันต์ แต่เป็น ไปได้ที่ปุถุชนพึงฆ่าพระอรหันต์ (๖) [๒๗๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้ห้อเลือด แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงมีจิตประทุษร้าย ทำร้ายตถาคตให้ ห้อเลือด (๗) [๒๗๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงทำลายสงฆ์ แต่เป็นไป ได้ที่ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ (๘) [๒๗๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพึงนับถือศาสดาอื่น แต่เป็นไปได้ที่ปุถุชนพึงนับถือศาสดาอื่น (๙) [๒๗๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงเสด็จ อุบัติพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกัน๑- แต่เป็นไปได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ องค์เดียวพึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว (๑๐)
ปฐมวรรค จบ
@เชิงอรรถ : @ โลกธาตุเดียวกัน หมายถึงจักรวาลเดียวกัน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๗๗/๔๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

๑๕. อัฏฐานบาลี
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
[๒๗๘] เป็นไปไม่ได้เลยที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติพร้อมกัน ในโลกธาตุเดียวกัน แต่เป็นไปได้ที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวพึงเสด็จอุบัติใน โลกธาตุเดียว (๑) [๒๗๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นไป ได้ที่บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (๒) [๒๘๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ (๓) [๒๘๑-๒๘๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่สตรีพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ เป็นพรหม แต่เป็นไปได้ที่บุรุษพึงครองความเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ เป็นมาร ฯลฯ เป็นพรหม (๔-๖) [๒๘๔] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายทุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๗) [๒๘๕-๒๘๖] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนทุจริตจะ พึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนทุจริตจะพึงเกิดผลที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ (๘-๙)
ทุติยวรรค จบ
๑๕. อัฏฐานบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๒๘๗] เป็นไปไม่ได้เลยที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่กายสุจริตจะพึงเกิดผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๕. อัฏฐานบาลี ๓. ตติยวรรค

[๒๘๘-๒๘๙] เป็นไปไม่ได้เลยที่วจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้เลยที่มโนสุจริตจะ พึงเกิดผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แต่เป็นไปได้ที่มโนสุจริตจะพึงเกิด ผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (๒-๓) [๒๙๐] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไป ได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑- นรก เพราะความประกอบกายทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๔) [๒๙๑-๒๙๒] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีทุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริตหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะ ความประกอบมโนทุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบมโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนทุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๕-๖) [๒๙๓] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไป เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบกายสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบกายสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย (๗) [๒๙๔-๒๙๕] เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลผู้ประกอบวจีสุจริต ฯลฯ เป็นไปไม่ได้ เลยที่บุคคลผู้ประกอบมโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะประกอบมโนสุจริตเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่เป็นไปได้ที่บุคคลผู้ประกอบ มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เพราะประกอบมโนสุจริต เป็นเหตุเป็นปัจจัย (๘-๙)
ตติยวรรค จบ
อัฏฐานบาลีที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ในที่นี้ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๓-๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=33&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=867 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=867#p33 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๓-๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]