ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๓. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ ๖ จบ
๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ ๓ ประการนี้ วุฑฒิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศรัทธา) ๒. สีลวุฑฒิ (ความเจริญด้วยศีล) ๓. ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญด้วยปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย วุฒิ ๓ ประการนี้แล
วุฑฒิสูตรที่ ๗ จบ
๘. อัสสขลุงกสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
[๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ จำพวก และคนกระจอก ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๘. อัสสขลุงกสูตร

ม้ากระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก ๓ จำพวกนี้แล คนกระจอก ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์๑- แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย วรรณะ๒- ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนกระจอกบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ เชาวน์ ในที่นี้หมายถึงญาณ คือความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) @ วรรณะ ในที่นี้หมายถึงคุณ คือความมีปฏิภาณในการโต้ตอบแก้ปัญหาในเรื่องอภิธรรม อภิวินัย @ไม่จนปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๑/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูง และความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วย ความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา” เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย เภสัชชบริขาร เรากล่าวว่า นี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวกนี้แล
อัสสขลุงกสูตรที่ ๘ จบ
๙. อัสสสทัสสสูตร
ว่าด้วยม้าดีและคนดี
[๑๔๒] เราจักแสดงม้าดี ๓ จำพวก และคนดี ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๘๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๙. อัสสสทัสสสูตร

ม้าดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีสัน ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่งและสมบูรณ์ด้วยสีสัน แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. ม้าดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วยสีสัน และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ จำพวกนี้แล คนดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๒. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ๓. คนดีบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความ สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ๑- ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่านี้ เป็นเชาวน์ของเขา แต่เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรมและอภิวินัย ก็จนปัญญาตอบ ไม่ได้ เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่วรรณะของเขา และเขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ไม่สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๗ ติกนิบาต หน้า ๓๑๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยความ สูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขาและเขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา แต่เขาไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้ไม่ใช่ความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยวรรณะ แต่ไม่ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูง และความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จักเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นแน่นอน เรากล่าวว่า นี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จน ปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็นวรรณะของเขา และเขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย คนดีสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวกนี้แล
อัสสสทัสสสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อัสสาชานียสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวก และบุรุษ อาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวก เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๑๐. อัสสาชานียสูตร

ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้ ฯลฯ๑- ๓. ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีบางตัวในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยกำลังวิ่ง สมบูรณ์ด้วย สีสัน และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ๓ จำพวกนี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ๓. บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ ฯลฯ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และ สมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เรากล่าวว่านี้เป็นเชาวน์ของเขา เขาถูกถามปัญหาในอภิธรรม และอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่จนปัญญา เรากล่าวว่านี้เป็น วรรณะของเขา เขาได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัชชบริขาร เรากล่าวว่านี้เป็นความสูงและความใหญ่ของเขา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ และสมบูรณ์ด้วยความสูงและความใหญ่ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ จำพวกนี้แล
อัสสาชานียสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ “ฯลฯ” ที่ปรากฏในสูตรนี้พึงดูเนื้อความเต็มในติกนิบาต ข้อ ๑๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=387&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=11026 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=11026#p387 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]