ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๖๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อธิกรณวรรค

๑. ธรรมเทศนาแบบย่อ๑- ๒. ธรรมเทศนาแบบพิสดาร๒- ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของตถาคต ๒ แบบนี้แล (๔)
เหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๑๕] ในอธิกรณ์ใด๓- ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ยังมิได้พิจารณา ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ดังนี้ว่า “จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ รุนแรง๔- เพื่อความร้ายแรง๕- และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก” ส่วนในอธิกรณ์ใด ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์พิจารณาตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้นพึงหวังได้ ดังนี้ว่า “จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายแรง และ ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก” ภิกษุผู้ต้องอาบัติพิจารณาตนเองให้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “เราแลต้องอาบัติที่ เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นว่าเราต้องอาบัติที่เป็น อกุศลทางกายบางอย่าง ถ้าเราไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นอกุศลทางกายบางอย่าง ภิกษุ @เชิงอรรถ : @ ธรรมเทศนาแบบย่อ หมายถึงการยกหัวข้อขึ้นตั้งแล้วกล่าว ใช้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญามาก ผู้เป็น @อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔/๑๒) @ ธรรมเทศนาแบบพิสดาร หมายถึงการยกหัวข้อขึ้นตั้งหรือไม่ยกหัวข้อขึ้นตั้งแล้วกล่าวชี้แจงโดยพิสดาร @ใช้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาน้อย ๓ จำพวก คือ (๑) วิปจิตัญญู ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ (๒) เนยยะ ผู้ที่พอ @แนะนำได้ (๓) ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ผู้อับปัญญาสอนให้รู้ได้แค่เพียงตัวบทคือพยัญชนะหรือถ้อย @คำ ไม่อาจเข้าใจอรรถคือความหมาย (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔/๑๒) @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยว @กับพระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การ @ต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์ @จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒) @ เพื่อความรุนแรง ในที่นี้หมายถึงเป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย เช่น ด่ากันด้วยคำหยาบว่า ท่าน @เป็นทาส เป็นคนชั่ว เป็นจัณฑาลและเป็นช่างสาน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) @ เพื่อความร้ายแรง ในที่นี้หมายถึงเป็นไปเพื่อการทำร้ายกันด้วยก้อนหิน ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๖๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๖๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=67&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=1811 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=1811#p67 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]