ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๖. อัจฉราสังฆาตวรรค

บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่นมัว แม้ฉันใด ภิกษุรูปนั้น ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน เป็นไปได้ที่จักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือ จักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว (๖) [๔๗] บัณฑิตกล่าวว่าต้นจันทน์เป็นต้นไม้ที่เลิศกว่าต้นไม้ทุกชนิด เพราะ เป็นของอ่อนและใช้งานได้ดี แม้ฉันใด เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้ มากแล้ว เป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้ จิตที่ได้เจริญทำให้มาก แล้วย่อมเป็นของอ่อนและควรแก่การใช้งาน (๗) [๔๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเร็วเหมือนจิตนี้ จิตนี้เปลี่ยนแปลงเร็วจนเปรียบเทียบกับอะไรไม่ได้ง่ายๆ (๘) [๔๙] จิตนี้ผุดผ่อง๑- แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองเพราะอุปกิเลส๒- ที่เกิดขึ้นภายหลัง (๙) [๕๐] จิตนี้ผุดผ่องและจิตนั้นแลหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลัง (๑๐)
ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕ จบ
๖. อัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว
[๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่จิตนั้นแลเศร้า หมองเพราะอุปกิเลสที่เกิดขึ้นภายหลังปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ๓- ย่อมไม่ทราบจิตนั้นตามความ เป็นจริง เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมไม่มีการอบรมจิต” (๑) @เชิงอรรถ : @ จิต ในที่นี้หมายถึง ภวังคจิต คือจิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิจิตกับจุติคือตั้งแต่เกิดจนถึงตายในเวลาที่ @มิได้เสวยอารมณ์ทางทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น และคำว่า ผุดผ่อง หมายถึงผุดผ่องเพราะบริสุทธิ์ @ไม่มีอุปกิเลส (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๙/๕๓-๕๔) @ อุปกิเลส มี ๑๖ ประการ มีอภิชฌาวิสมโลภะ - คิดเพ่งเล็งอยากได้โดยไม่เลือกว่าควร หรือไม่ควร @เป็นต้น (ม.มู. ๑๒/๗๒/๔๘-๔๙) @ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=9&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=221 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=221#p9 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]